ชาวสวนทำเว็บสวนหม่อนไม้

เมื่อชาวสวนอย่างเราคิดจะทำเว็บไซต์ บนพื้นฐานหลักเศรษฐกิจพอเพียงเมื่อพิจารณาว่าเป็นสิ่งที่ทำเกินตัวเราหรือไม่เราจะทำได้หรือไม่ มีเหตุผลในการทำอย่างไร จำเป็นหรือไม่ ลองหาคำตอบดูจะพบว่าเมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคแห่งเทคโนโลยี หากเราชาวสวนไม่ปรับตัวก็จะดำรงชีวิตในปัจจุบันได้ยาก ดังนั้นจำเป็นที่ต้องเรียนรู้และนำมาประยุกต์เทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้งานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เมื่อเริ่มต้นจำเป็นต้องเสาะหา ค้นคว้าหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำเว็บ มีความเพียรในการทำด้วยความไม่ประมาท สามารถแบ่งขั้นตอนการลงมือทำได้ดังต่อไปนี้
1. กำหนดเป้าหมายและทำแผนงาน- ตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
ปัจจุบันแนวทางการดำเนินชีวิตแบบพึ่งพาตนเองแบบพอเพียง โดยใช้หลักการ ศาสตร์ และการปฏิบัติ เริ่มมีปรากฏเพิ่มมากขึ้น แต่ยังคนส่วนใหญ่จะทำตามความเข้าใจของตน อีกทั้งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่มีข้อมูลกระจายตัวไปตามแหล่งข้อมูล และเว็บต่างๆ จำนวนมาก เราได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากเว็บ ผู้รู้ การฝึกอบรม ดูงาน สัมนาทางวิชาการ และการทดลองปฏิบัติจริง เพื่อเป็นแหล่งข้อมูล องค์ความรู้ สู่การพึ่งพาตนเอง
เว็บไซต์เป็นเว็บรวบรวม ความรู้ หลักทฤษฎี การปฏิบัติ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแนวทางเริ่มต้นสำหรับ ผู้จะก้าวเดินสู่ชีวิตวิถีพอเพียง
– กำหนดกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย
ผู้เข้าชมเว็บจะเป็นเว็บผู้ที่ต้องการความรู้และความเข้าใขในการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งผู้เริ่มต้นลงมือปฏิบัติและผู้ลงมือทำอยู่แล้ว
– กำหนดขอบเขตเนื้อหา และรวบรวมข้อมูลเนื้อหา
เว็บไซต์ประกอบด้วย ความรู้ หลักทฤษฎี การปฏิบัติ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แบ่งออกเป็น
- เกี่ยวกับสวนหม่อนไม้
- ข้อมูลและเนื้อหา
องค์ความรู้บนเว็บ ได้มาจากเว็บ ผู้รู้ การฝึกอบรม ดูงาน สัมนาทางวิชาการ และการทดลองปฏิบัติจริง แล้วสรุปเป็นแนวทางและรายละเอียดตามที่ปรากฏ และหากมีข้อมูลตรงกับการรวบรวมจากข้อเขียนในเว็บอื่น ก็นำมาใช้ในบางส่วนแล้วเรียบเรียงตามความเข้าใจของผู้จัดทำ แบ่งออกเป็น
- พอเพียง
ศาสตร์พระราชา หลักแห่งความพอเพียง เป็นหลักการเพื่อการพึ่งตนเอง ซึ่งการที่จะก้าวเดินในแนวทางนี้อย่างมั่นคง ยั่งยืน จำเป็นอย่างมากที่จะต้องอาศัยหลักแนวคิดที่ถูกต้อง ซึ่งมีปรากฎอยู่ในผืนแผ่นดินไทย จากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ปราชญ์ และที่สำคัญคือ ศาสตร์พระราชา ศาสตร์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย - ภูมิปัญญา ความรู้อันทรงคุณค่าทีได้รับการสั่งสม สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ประยุกต์ปรับใช้ให้เหมาะแก่การดำรงชีวิตในแนวทางเพื่อการพึ่งตนเอง
ศาสตร์พระราชา พระราชาผู้ทรงเป็นดวงประทีป นำทางปวงชนให้หลุดพ้นจากความยากจน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแนวคิด แนวทาง และแหล่งศึกษาทดลอง สู่แนวทางปฏิบัติที่เห็นผลอย่างชัดเจน - ตามรอยปราชญ์
การเรียนรู้ ที่ได้จากประสบการณ์ ที่ได้ทำการทดลอง ทดสอบเรียนรู้ ซึ่งเป็นบทเรียนอันล้ำค่า และช่วยร่นระยะทางในการก้าวเดินสู่แนวทางแห่งการพึ่งพาตนเอง โดยเรียนรู้จาก ปราชญ์ของแผ่นดิน และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ - ปราชญ์ของแผ่นดิน บุคคลที่มีความคิด แนวคิด หลักการดำเนินชีวิต แนวทางการปฏิบัติในแนวทางการพึ่งพาตนเอง เข้าใจหลักสมดุลแห่งธรรมชาติ และลงมือทำอย่างจริงจัง บางท่านเป็นปราชญ์ที่ได้รับการยกย่องเป็นที่รู้จักและนับถือในสายงานที่ตนเองถนัด บางท่านมีแนวทางและแนวปฏิบัติที่แบบอย่างที่ดี หลายท่านเป็นผู้อุทิศตนเพื่อคนอื่นๆ ติดตามแนวคิด วิถีแห่งปราชญ์ได้ในหมวดนี้
แหล่งเรียนรู้ อันเป็นสถานที่แห่งการปฏิบัติ ลงมือทำ และเห็นผลงาน อันเป็นตัวอย่างในแนวทางการพึ่งตนเอง ทั้งในด้าน แหล่งเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง เกษตรกรรม พลังงาน สุขภาพ ดิน น้ำ ป่า เป็นต้น ซึ่งเป็นสถานที่ที่เราสามารถไปเรียนรู้จากสถานที่จริง แล้วนำมาปฏิบัติได้ - นวัตกรรมทำเอง
ภายใต้หลักการพึ่งพาตนเอง การลงมือทำด้วยตนเอง เป็นกิจกรรมหลัก และแนวทางที่สำคัญมาก องค์ความรู้ที่ได้ลงมือทำ และประสบผล จึงเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ มีการแบ่งหมวดหมู่ดังนี้
> ของใช้ในชีวิตประจำวัน การทำของใช้ในชีวิตประจำวันด้วยวัสดุแบบชาวบ้าน อันเป็นภูมิปัญญา การคิดค้น ประยุกต์นำมาใช้งาน ที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง ซึ่งไม่ยากมาก
ที่อยู่อาศัย ทำบ้านแบบบ้านๆ ด้วยมือตนเองได้
> พลังงาน หลักการ วิธีการ ประดิษฐ์คิดค้น สร้างสรรค์พลังงานทางเลือกที่เหมาะสม ด้วยเทคโลโลยีที่เหมาะสมต่อคนต่อโลก
> อาหารเพื่อสุขภาพ ภูมิปัญญาแห่งวิถีไทยในการถนอมอาหาร แปรรูปอาหาร คิดค้นการนำวัตถุดิบจากธรรมชาติมาประกอบ ทำเป็นอาหารเพื่อสุขภาพอันเลิศรสแบบไทยๆ
เครื่องมือเกษตร พัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม
> เทคโนโลยี ประดิษฐ์คิดค้น นำเทคโนโลยีที่เหมาะสม เทคโนโลยีชาวบ้าน มาใช้ในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
> แสง คลื่น ประยุกต์หลักธรรมชาติ เพื่อเป็นประโยชน์ เกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมและโลก
> สุขภาพ การดูแลสุขภาพบนพื้นฐานแห่งการพึ่งตนเอง - เรียนรู้
องค์ความรู้สู่การพึ่งพาตนเอง เป็นความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ตามหัวเรื่องต่างๆ ดังนี้
> คนและชุมชน แนวทางและแบบอย่าง สังคมแห่งการแบ่งปัน สามัคคี ร่วมแรงร่วมใจพัฒนาชุมชน สังคมอันอุดมไปด้วยวิถีแห่งการพึ่งตนเองและพึ่งพาซึ่งกันและกัน นำไปสู่ชุมชนแห่งความสุข
> จุลินทรีย์ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่สร้างโลก สร้างคุณค่ามหาศาลแก่โลก
> ดิน การทำดินให้ดี คือการทำให้ดินมีชีวิต เพราะดินที่ดี คือดินที่มีชีวิต เหมาะสมต่อชีวิตพืช สัตว์ คน และชีวิตต่างๆในดิน
> นา การทำนา ปลูกข้าว แบบพึ่งตนเอง
> น้ำ การดูแลรักษาแหล่งน้ำ การพัฒนาแหล่งน้ำที่เหมาะสม
> ป่า พืชผัก สมุนไพร เห็ด ไม้น้ำ ไม้ผล ไม้พุ่มเตี้ย ไม้ยืนต้น ไม้เลื้อย ไม้ใต้ดิน ไม้ดอกไม้ประดับ การปลูกพืช ดูแล บนพื้นฐานแห่งการพึ่งตนเอง
> สัตว์ การเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้งาน การบริโภค ที่เหมาะสมและเกื้อกูลกับธรรมชาติ
เทคโนโลยี
เมื่อพิจารณาเนื้อหาและความต้องการแล้ว ถ้าจะทำเว็บด้วยเครื่องมือหรือพัฒนาด้วยตนเอง จำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเว็บ ได้แก่
- การทำงานของเว็บ จะมีลักษณะเช่นเดียวกันกับบริการอื่นๆ ของอินเทอร์เน็ต คืออยู่ในรูปแบบไคลเอ็นต์-เซิร์ฟเวอร์ (client – server) โดยมีโปรแกรมเว็บไคลเอ็นต์ (web client) ทำหน้าที่เป็นผู้ร้องขอบริการ และมีโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server) ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ โปรแกรมเว็บไคลเอ็นต์ก็คือโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (web browser) นั่นเอง สำหรับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นจะถูกติดตั้งไว้ในเครื่องของผู้ให้บริการเว็บไซต์ การิดต่อระหว่างโปรแกรมเว็บบราวเซอร์กับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์จะกระทำผ่านโปรโตคอล HTTP (Hypertext Transfer Protocol)
- สำหรับเว็บเพจ เมื่อเราใช้เว็บบราวเซอร์เปิดดูเว็บเพจใด เว็บเซิร์ฟเวอร์ก็จะส่งเว็บเพจนั้นกลับมายังบราวเซอร์ จากนั้นบราวเซอร์จะแสดงผลไปตามคำสั่งภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ที่อยู่ในไฟล์
- การสร้างเว็บเพจที่มีความฉลาดสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน หนึ่งในนั้นก็คือ การฝังสคริปต์หรือชุดคำสั่งที่ทำงานทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (server-side script) ไว้ในเว็บเพจ การทำงานของเว็บเพจที่ฝังสคริปต์ภาษา เมื่อเว็บบราวเซอร์ร้องขอไฟล์ เว็บเซิร์ฟเวอร์จะเรียก engine ขึ้นมาแปล (interpret) และประมวลผลคำสั่งที่อยู่ในไฟล์นั้น โดยอาจมีการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล หรือเขียนข้อมูลลงไปยังฐานข้อมูลด้วย หลังจากนั้นผลลัพธ์ในรูปแบบ HTML จะถูกส่งกลับไปยังบราวเซอร์ บราวเซอร์ก็จะแสดงผลตามคำสั่ง HTML ที่ได้รับมา ซึ่งย่อมไม่มีคำสั่งสคริปต์ภาษา ใดๆ หลงเหลืออยู่ เนื่องจากถูกแปลและประมวลผลโดย engine ที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ไปหมดแล้ว
- ระบบการจัดเก็บข้อมูล เป็นส่วนการจัดเก็บข้อมูลเพื่อทำให้เป็นระบบและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบฐานข้อมูลทำหน้าที่เป็นระบบจัดเก็บ เรียกดู ค้นหา จัดระบบข้อมูลที่ต้องการให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมและใช้งานง่าย
ดังนั้นหากกล่าวโดยสรุป เราจำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องต่างๆ เพื่อใช้งานให้เหมาะสม อันประกอบด้วย
- ระบบเครื่องแม่ข่าย (Server) ระบบปฏิบัติการ (OS) และระบบเว็บเซิร์ฟเวอร์
- ระบบเครื่องลูกข่าย คอมพิวเตอร์ tablet โทรศัพท์มือถือและโปรแกรมเว็บบราวเซอร์บนอุปกรณ์เหล่านั้น
- ภาษาที่ใช้สำหรับเว็บ ได้แก่ HTML , CSS ,JavaScript
- ภาษาคอมพิเตอร์ในประมวลผลในเครื่องแม่ข่ายสำหรับเว็บ เช่น PHP , Java , ASP (.NET) เป็นต้น
- ระบบฐานข้อมูลที่ใช้ เช่น MySQL , MSSQL เป็นต้น
วางโครงสร้างและจัดเตรียมเครื่องมือต่างๆ
เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็น
จัดเตรียมอุปกรณ์ หรือเครื่องมือช่วยงาน ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องสแกนเนอร์ กล้องดิจิตอล
จัดหาโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ เช่น
- โปรแกรมสำหรับพัฒนาเขียนเว็บเพจ เช่น EditPlus , Adobe Dreamweaver
- โปรแกรมสร้างและตกแต่งภาพ เช่น Adobe Photoshop และ ImageReady
- โปรแกรม FTP สำหรับ upload file จากเครื่องคอมพิวเตอร์เราไปเครื่อง Server (เช่น FileZilla สามารถหา download มาใช้ได้ฟรี)
- โปรแกรมอื่นๆ เช่น SnagIT สำหรับ Capture รูปภาพหน้าจอ ทำให้สะดวกเวลาเราต้องการ Capture รูปภาพ เพื่อแนะนำการใช้งานโปรแกรม หรืออื่นๆ
เมื่อความรู้ที่ต้องใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์มีมาก ชาวสาวนอย่างเราลองหาทางลัดดีกว่า ซึ่งสำหรับคนทำเว็บจะมีเครื่องมือสำเร็จรูปให้เลือกใช้ที่เหมาะกับงานที่เราต้องการที่เรียกว่า CMS (Content Management System)
CMS (Content Management System) คือ ระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์(Content Management System : CMS) คือ ระบบที่พัฒนา คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา(Development) และบริหาร(Management)เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และเงินทอง ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลไซต์
ลักษณะเด่นของ CMS ก็คือ มีส่วนของ Administration panel(เมนูผู้ควบคุมระบบ) ที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทำงานต่างๆในเว็บไซต์ ทำให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว และเน้นที่การ จัดการระบบผ่านเว็บ(Web interface) ในลักษณะรูปแบบของ ระบบเว็บท่า(Portal Systems) โดยตัวอย่างของฟังก์ชันการทำงาน ได้แก่ การนำเสนอบทความ(Articles), เว็บไดเรคทอรี(Web directory), เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ(News), หัวข้อข่าว(Headline), รายงานสภาพดินฟ้าอากาศ(Weather), ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ(Informations), ถาม/ตอบปัญหา(FAQs), ห้องสนทนา(Chat), กระดานข่าว(Forums), การจัดการไฟล์ในส่วนดาวน์โหลด(Downloads)
CMS เหมาะสมและเป็นที่นิยม คือ wordpress
WordPress เป็น open source web software ที่เราสามารถติดตั้งบนเว็บ server ของเราเพื่อสร้างเว็บไซต์, blog หรือ community ตอนเริ่มแรก WordPress เป็นเครื่องมือไว้สำหรับสร้าง blog แต่ได้รับการพัฒนามาเรื่อย ๆ จนสามารถสร้างเป็นเว็บไซต์ หรือ เว็บ community ได้แล้ว โดยมีระบบจัดการบทความ หรือ Content Management System (CMS) ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน wordpress ทำงานบน Server ที่ใช้ PHP , MySQL เป็นหลัก
2. เลือก Web hosting และจด Domain name
เมื่อจะทำเว็บจำเป็นต้องมีชื่อและที่อยู่เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถเข้าใช้งานได้ ดังนั้นจะต้องมีการตั้งชื่อ เรียกว่า Domain name และมีที่อยู่ซึ่งอาจใช้วิธีการเช่าพื่นที่ เรียกว่า Web hosting
Web hosting คือ การให้บริการเช่าพื้นที่ หรือ รับฝากข้อมูลของเว็บไซต์เรา บนเครื่อง Web server ของผู้ให้บริการ
เว็บไซต์ที่เผยแพร่อยู่บนอินเตอร์เน็ตนั้น จะต้องได้รับการฝากไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า Web server จะทำหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้บริการกับผู้ที่ร้องขอใช้บริการ เช่น เมื่อเราต้องเรียกดู website เมื่อไหร่ ที่ไหน ก็ตาม เพียงแต่เปิดโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ เช่น IE หรือ Firefox แล้วพิมพ์ชื่อ website ลงไป ก็จะสามารถเรียกดูข้อมูลบนเครื่อง Web server ได้ทันที
ผู้ให้บริการ Web hosting จะจัดหาเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับงานสร้างเว็บไซต์ทั้งทางด้าน Hardware, Software และบุคลากร มาให้บริการกับเรา ผู้ใช้บริการไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดการระบบ Web Server แต่อย่างใด
ผู้ให้บริการจะดำเนินการและรับผิดชอบทั้งหมด ตั้งแต่การติดตั้งระบบ จนกระทั่งการดูแลรักษาระบบให้กับเรา ตลอดระยะเวลาที่เราฝากข้อมูลเว็บไซต์เอาไว้ผู้ให้บริการจะคิดค่าบริการ จากการเช่าพื้นที่ ที่เราจะเอาไว้เก็บข้อมูลเว็บไซต์, ฐานข้อมูล, email, รายละเอียดเกี่ยวกับสถิติผู้เข้าชม ฯลฯ มักคิดค่าใช้จ่ายเป็นรายปี
การจด Domain name
Domain name คือชื่อเว็บไซต์ ที่ประกอบด้วยชื่อ และนามสกุล เราสามารถที่จะจด Domain name เป็นของตนเองได้ โดยต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น นามสกุลที่ใช้สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสม นามสกุลเป็น
- .com ใช้กับ บริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้ง website ส่วนตัว
- .net ใช้กับ องค์กรเกี่ยวกับระบบ network หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
- .org ใช้กับ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร …
สามารถจดโดเมนได้ตามเว็บที่รับจดโดนเมนหรือ Web hosting ที่มีบริการนี้ คิดค่าใช้จ่ายเป็นรายปี
3. ออกแบบเว็บไซต์
โครงสร้างเว็บไซต์ คือ การจัดหมวดหมู่ และลำดับของเนื้อหา แล้วจัดทำเป็นแผนผังโครงสร้างเว็บไซต์ ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่ามีเนื้อหาอะไรบ้างภายในเว็บไซต์ และแต่ละหน้าเว็บเพจนั้นมีการเชื่อมโยงกันอย่างไร
ระบบ Navigation เป็นระบบนำทางที่จะนำผู้ชมไปยังหน้าต่างๆ ของเว็บไซต์ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว และรู้ว่ากำลังอยู่ตรงไหนของเว็บไซต์
นอกจากนี้ยังใช้กำหนดบทบาทของผู้ใช้ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้ โดยผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะสามารถเข้าถึงหน้าเว็บเพจได้อย่างมีขอบเขต ตามสิทธิที่วางไว้เท่านั้น
เครื่องนำทาง
- เมนูหลัก เป็นเมนูสำหรับลิงค์ไปยังหน้าหัวข้อหลักของเว็บไซต์ มักอยู่ในรูปของลิงค์ที่เป็นข้อความหรือภาพกราฟฟิก และมักถูกจัดวางอยู่ด้านบนในเว็บเพจทุกหน้า
- เมนูเฉพาะกลุ่ม เป็นเมนูที่เชื่อโยงเว็บเพจปัจจุบันกับเว็บเพจอื่นภายในกลุ่มย่อยที่มี เนื้อหาเกี่ยวเนื่องกัน มักอยู่ในรูปแบบของลิงค์ข้อความหรือกราฟฟิกเช่นกัน
- เครื่องมือเสริม สำหรับช่วยเสริมการทำงานของเมนู มีได้หลายรูปแบบ เช่น ช่องค้นหาข้อมูล (Search Box) , เมนูแบบดร็อปดาวน์ (Drop-Down menu) , แผนผังเว็บไซต์ (Site Map), อิมเมจแมพ (Image Map)
เครื่องมือบอกตำแหน่ง (Location Indicator)
เป็นสิ่งที่ใช้แสดงว่า ขณะนี้ผู้ชมกำลังอยู่ในตำแหน่งใดในเว็บไซต์ เครื่องบอกตำแหน่งมีได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อความภาพกราฟฟิกที่แสดงชื่อเว็บเพจ หรือข้อความบ่งชี้ และบ่อยครั้งที่เครื่องมือบอกตำแหน่งถูกรวมไว้กับตัวเมนูเลย
ส่วนประกอบของหน้าเว็บเพจแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ
- ส่วนหัวของหน้า (Page Header)
เป็นส่วนที่อยู่ตอนบนสุดของหน้า และเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของหน้า เพราะเป็นส่วนที่ดึงดูดผู้ชมให้ติดตามเนื้อหาภายในเว็บไซต์ มักใส่ภาพกราฟฟิกเพื่อสร้างความประทับใจ ส่วนใหญ่ประกอบด้วย
– โลโก้ (Logo) เป็นสิ่งที่เว็บไซต์ควรมี เป็นตัวแทนของเว็บไซต์ได้เป็นอย่างดี และยังทำให้เว็บน่าเชื่อถือ
– ชื่อเว็บไซต์
– เมนูหลักหรือลิงค์ (Navigation Bar) เป็นจุดเชื่อมโยงไปสู่เนื้อหาของเว็บไซต์ - ส่วนของเนื้อหา (Page Body)
เป็นส่วนที่อยู่ตอนกลางของหน้า ใช้แสดงข้อมูลเนื้อหาของเว็บไซต์ ซึ่งประกอบด้วยข้อความ, ตารางข้อมูล ภาพกราฟิก วีดีโอ และอื่นๆ และอาจมีเมนูหลัก หรือเมนูเฉพาะกลุ่มวางอยู่ในส่วนนี้ด้วย
สำหรับส่วนเนื้อหาควรแสดงใจความสำคัญที่เป็นหัวเรื่องไว้บนสุด ข้อมูลมีความกระชับ ใช้รูปแบบตัวอักษรที่อ่านง่าย และจัด Layout ให้เหมาะสมและเป็นระเบียบ - ส่วนท้ายของหน้า (Page Footer)
เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างสุดของหน้า จะมีหรือไม่มีก็ได้ มักวางระบบนำทางที่เป็นลิงค์ข้อความง่าย ๆ และอาจแสดงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาภายในเว็บไซต์ เช่น เจ้าของเว็บไซต์ เป็นต้น
ได้ความรู้แล้วก็ลงมือทำ ทำทันที…
ป้ายคำ : อินเทอร์เน็ต, เว็บไซต์