ป่ายางวนเกษตร

การทำสวนยางพาราเพื่อพึ่งพาตนเอง และเพื่อการพื้นฟูธรรมชาติ และการปลูกยางพาราแบบยั่งยืน จึงจำเป็นต้องฟื้นฟูธรรมชาติภายในระบบนิเวศน์สวนยางนั้นๆ เพื่อให้เกิดความสมดุลและเหมาะสม โดยมีหลักในการพิจารณาทั่วไป จะต้องเลือกปลูกพืชที่มีความสูงของเรือนยอดต่างๆ

อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน โดยแบ่งความสูงออกเป็นระดับ คือ

  • ประเภทต้นสูง เช่น ประดู่ ตะเคียน ยางนา พะยอม ไม้สัก สะตอ เนียง ทุเรียน ไผ่ซางหม่น ไผ่ซางนวลราชินี ไผ่กิมซุง ฯลฯ
  • ประเภทโตปานกลาง หรือไม้พุ่ม เช่น ผักหวาน ชะมวง เหลียง ไผ่รวก ไผ่บงหวาน กล้วย ฯลฯ
  • ประเภทพืชชั้นล่างที่ทนร่ม เช่น ขิง ข่า ดาหลา อ้อดิบ กระชาย ขมิ้น ชะพูล ผักกูด และเห็ด ฯลฯ

สวนหม่อนไม้ ส่วนการทำสวนยางพารารูปแบบป่ายางวนเกษตร วางแผนการปลูกเป็นระยะและช่วงเวลาการเจริญเติบโตของไม้ มีรายละเอียดังนี้

  • 0. เริ่มต้น(ตุลาคม 2555) ด้วยการโค่นยางพาราที่หมดอายุ และเว้นไม้ใหญ่ในสวนไว้ทั้งหมด ได้แก่ ตะเคียน ยาง สะเดาเทียม เป็นต้น และปรับพื้นที่เท่าที่จำเป็น ทำร่องน้ำ วางเส้นทางคลองไส้ไก่ ทำการเตรียมดิน ทำน้ำหมักชีวภาพ ทำจุลินทรีย์ และทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เตรียมไว้ก่อน พร้อมกล้ายางพารา
  • 1. ปลูกยางพารา ทำแถวเป็น 7.5?3 เมตร พร้อมปลูกกล้วยระหว่างแถวยางห่างกันประมาณ 10 เมตร ที่สวนใช้กล้วยน้ำว้า เพราะหาง่าย ปลูกเป็นไม้พี่เลี้ยงและช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นแก่ดิน ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ คลุมโคนต้นด้วยหญ้า แล้วปล่อยให้หญ้าขึ้นเพื่อห่มดินไว้
  • 2. ช่วง 6 เดือนต่อมา ยางพาราและกล้วยเริ่มตั้งตัวได้ พร้อมเหล่าสหายก็คือหญ้า หญ้า และหญ้า จัดการด้วยการตัดหญ้า หมกไว้โคนยาง ทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ฉีดน้ำหมักชีวภาพ และทำการปลูกไม้ยืนต้น ได้แก่ ประดู่ ตะเคียน ยางนา พะยอม ไม้สัก ปลูกไว้ข้างกอกล้วยในแนวเดียวกันให้กล้วยช่วยเป็นพี่เลี้ยง ไม้ยืนต้นเหล่านี้เป็นไม้โตช้าจะไม่สามารถแย่งแสงจากยางได้ในระยะต้น แต่เป็นไม้ที่สูงกว่ายางในระยะยาว ไว้เป็นมรดกหรือไม้บำนาญชีวิต ปลูก และผักสวนครัว มะเขือ พริก ถั่วฝักยาว ถั่วพลู เผือก ข้าวโพด ตะไคร้ กะเพรา โหระพา แมงลัก กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบแดง ฯลฯ ปลูกแฝกขอบแนวร่องน้ำกันดินทลาย
  • 3. เมื่อไม้ยางพาราครบ 1 ปี เริ่มทำเป็นป่าด้วยการปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผลเพิ่มเติม ด้วยการปลูกไผ่ซางหม่น ไผ่ซางนวล ไผ่กิมซุง ไผ่บงใหญ่ ไผ่รวก ไผ่บงหวาน ไผ่หว่ะโซว ระหว่างแถงยางพารา ในแนวเดียวกับกล้วย ปลูกสลับกับกล้วย ไผ่ส่วนใหญ่ที่ใช้เป็นไผ่เพาะเมล็ด จะโตตามต้นยางขึ้นไป ทำการปลูกชั้นล่าง ขิง ข่า ดาหลา อ้อดิบ กระชาย ขมิ้น และผักสวนครัว มะเขือ พริก ถั่วฝักยาว หญ้าเนเปียร์ ฯลฯ ไว้เก็บกิน
  • 4. เมื่อผ่านไปปีครึ่ง ปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผลเพิ่มเติม สะตอ เนียง ยางบง สะเดาเทียม กระถินเทพา ในแนวรอบสวนโดยห่างกันประมาณ 2 เมตรเพื่อเป็นไม้กำหนดเขตแดน และป้องกันสารเคมีต่างๆ ที่จะเข้ามาในสวน
  • 5. ครบเวลา 2 ปีดูแลจัดการสวน รอให้ต้นไม้เติมโตตามธรรมชาติ ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ คืนชีวิตให้แผ่นดิน เรียกพนักงานพรวนดิน(ไส้ดือน) ให้กลับมา ตัดหญ้าตามกำลัง ในฤดูแล้งปล่อยหญ้าบางส่วนไว้คลุมดิน และตัดทำปุ๋ยตามความเหมาะสม ปลูกต้นไม้เสริมตามกำลังเพิ่มความหลากหลาย ได้แก่ ผักหวาน ชะมวง อ้อดิบ สับประรด ฝาง กระถิน หญ้าเนเปียร์ อ้อย ฯลฯ ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ
  • 6. เข้าสู่ปีที่ 3 ต้นไม้เริ่มสูงใหญ่พอมีร่มเงา สามารถปลูกพืชที่ไม่ต้องการแสงมาก เริ่มปลูกเหลียง ในร่องยางพารา บางส่วนปลูกสละอินโดในระหว่างร่องยางพาราที่เว้นไว้ตามแผนผังที่ออกแบบสวน ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพปีละ 2-3 ครั้ง
  • 7. ปีต่อๆ มา ต้นไม้ที่หลายหลายจะค่อยๆ เติบโต โดยผ่านการดูแลซึ่งกันและกัน บางชนิดอาจจะตายไปตามอายุ เช่นกล้วย จะได้แสงไม่พอก็จะไม่โตและตายไปในที่สุด ต้นไม้ที่หลากหลายก็จะพึ่งพากันเอง เป็นการพื้นฟูธรรมชาติ ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพปีละ 2 ครั้ง

mm5_084959

mm5_114252

การทำสวนยางพาราเพื่อพึ่งพาตนเอง ในแบบป่ายางวนเกษตร จึงเป็นความมั่นคง มั่งคั่ง และยังยืนของชาวสวน

mm5_084810

สวนยางเมื่อเริ่มปลูกได้ปีแรก อย่างรก…กกก

ไม้เบิกนำ และให้ความชุ่มชื้น “กล้วย” เคยทดลองปลูกแบบกลับหัว ผลคือใน 1 กอมีหน่อออกมา 3-4 ต้น โตไปพร้อมๆกัน และออกผลพร้อมกัน เวลากินเลยกินไม่ทัน แจกเพื่อนบ้านกินจนเบื่อ

mm5_084714

mm5_084720

ป่ายางวนเกษตร ดูแล้วไม่เหมือนสวนยาง อย่างรก จริงๆ ปล่อยให้หญ้าขึ้นแล้วตัดให้เป็นปุ๋ยพืชสด

mm5_114218

mm5_114150

ไม้ยืนต้น ปลูกไว้ข้างกอกล้วย ทุกกอกล้วยจะมีไม้ยืนต้นปลูกอยู่ด้วยเพื่อเป็นพี่เลี้ยง ต้นไหนตายก็ปลูกซ่อม

mm5_100818

ไผ่ซางนวล ไผ่ซางหม่น ปลูกไว้เป็นแนวกันลม และไว้ใช้ลำ

mm5_114453

mm5_114507

ไผ่บงหวานพันธุ์ดั้งเดิม ได้มาจากการแจกของครูที่แม่ฮ่องสอน (ขอบคุณมากครับ) เป็นต้นที่เกิดจากการเพาะเมล็ด มาชุดเดียวกัน แต่ต้นที่เกิดขึ้นแบ่งออกเป็น 3 แบบ
1. ต้นเขียวมีกิ่งมาก รก มีหน่อลายเขียวเหลือง
2. ต้นเขียวเข้มมีกิ่งมาก รก มีหน่อสีม่วงดำ
3. ต้นเขียวมีกิ่งไม่มาก ลำตรง มีหน่อลายเขียวเหลือง ปล่อยไว้ให้เติบโต 3 ปี รอสางกอเพื่อนำต้นไปทำถ่านและถ่านชีวภาพ

mm5_114341

mm5_101308

mm5_100747

ยางนา เจริญเติบโตได้ดี ปลูกไว้ให้เป็นมรดก

mm5_100836

สัก เติบโตไม่เร็วนัก ผลัดใบยามแล้ง พอเจอฝนใบใหญ่มาก ปลูกไว้ให้ลูกหลาน

mm5_114555

ประดู่ ค่อยๆโต

mm5_114055

ยางบง ปลูกไว้รอทำกาวสำหรับทำถ่านดูดกลิ่นอับ อีก 5 ปีจึงจะนำมาใช้ได้

mm5_114607

ตะเคียน ปลูกไว้ขู่คนกลัวผี (555) จริงแล้วปลูกไว้ให้ลูกหลาน ส่วนต้นตะเคียนสูงๆ พ่อตาปลูกไว้ในสวนยางอายุประมาณ 15 ปี

mm5_100551

mm5_100658

ฝาง ทดลองนำมาปลูกในสวนยาง ค่อยๆโต หรือโตช้าเพราะอยู่ในเขตที่มีแสงน้อย รอดูต่อไปครับ

mm5_092616

สละอินโด ต้นพันธุ์ได้มาจากการเพาะเมล็ด โดยซื้อผลมากิน แล้วนำเมล็ดมาเพาะเอง มาจากทางอินโดนีเซีย นราธิวาส และสุราษฎร์ธานี รอดูว่าจะได้ผลอย่างไร

mm5_084744

mm5_100835

mm5_084836

ผักเหลียง ปลูกระหว่างร่องยาง และระหว่างไม้ยืนต้นและต้นไผ่ พืชผักพื้นบ้านถิ่นใต้ ผัดกับไข่ หรอยจังฮู้

mm5_084504

mm5_084621

ปุ๋ยหมักชีวภาพ ทำแบบประยุกต์มีท่ออากาศช่วยเติมอากาศ เพราะโอกาสที่จะมีเวลากลับกองนั้นยากมากๆ

mm5_120254

mm5_125622

mm5_130421

mm5_131748

ป้ายคำ : ,

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

แผนงานเกษตรเพื่อการพึ่งตนเอง แบบฉบับของสวนหม่อนไม้
สวนผสม
สวนเกษตรผสมผสาน