แผนงานเกษตรเพื่อการพึ่งตนเอง แบบฉบับของสวนหม่อนไม้

การทำเกษตรเป็นมากกว่าการทำธุรกิจ เพราะอาชีพเกษตรผูกพันกับวิถีชีวิต สัมพันธ์?กับการใช้ชีวิต การกำหนดเป้าหมายจึงเป็นการคิดถึงชีวิต วิเคราะห์ชีวิต? ให้เป็นไปตามที่ต้องการ ดังนั้นเป้าหมายของชีวิตบนพื้นฐานการทำเกษตรแบบพึ่งตนเอง จึงสามารถกำหนดให้เป็น พอเพียง? มั่นคง? ?มั่งคั่งและยั่งยืน ได้

สวนหม่อนไม้ วางเป้าหมายสู่ความพอเพียง? มั่นคง? ?มั่งคั่งและยั่งยืน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ

  • ระยะสั้น? ทำเพื่อพออยู่? พอกิน พอใช้? และพอร่มเย็น
  • ระยะกลาง แบ่งปัน? ?แจกจ่าย? จำหน่ายเพื่อมีรายได้ ขยายแนวคิด รวมกลุ่ม? ประสานกันเป็นเครือข่าย เกี้อกูลช่วยเหลือกัน
  • ระยะยาว? พึ่งพาและพึ่งพิงกันกับคน? ชุมชนและธรรมชาติ หมุนเวียนเป็นวัฎจักรที่ไม่รู้จน? สู่ความยั่งยืนนั่นเอง…

ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฏีบันได ๙ ขั้นสู่ความพอเพียง

บันไดขั้นที่ ๑-๔ คือ เศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน
ขั้นที่ ๑ พอกิน : อาหารเป็นหนึ่งในโลก
เกษตรกรต้องเริ่มจากการอยู่ให้ได้โดยไม่ใช้เงิน มีอาหารพอมี พอกิน ด้วยการปลูกพืช ผัก ผลไม้ ให้พอกิน ชาวนาต้องเก็บข้าวไว้ให้เพียงพอสำหรับการมีกินทั้งปี หัวใจสำคัญของ ?พอกิน? ยังมีความหมายรวมไปถึงความปลอดภัยในอาหาร กินอย่างไรให้มีสุขภาพดี ไม่สะสมเอาความเจ็บไข้ได้ป่วยไว้ในร่างกาย

ในสวนหม่อนไม้ มีการปลูกพืชผัก ผลไม้ หลากหลายให้สามารถมีกินทั้งปี เลี้ยงสัตว์ และประมง ดังนี้

  • ไม้ผล : มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน ละมุด ส้ม กล้วย น้อยหน่า มะละกอ กระท้อน มะขามป้อม ส้มโอ มะเฟือง ตะลิงปลิง มะดัน มะกอก มะกอกน้ำ
  • ผักยืนต้น : แคบ้าน มะรุม สะเดา ขี้เหล็ก กระถิน ผักเหลียง มะนาว มะกรูด ส้มจี๊ด ชะอม ฯลฯ
  • พืชผักสวนครัว : พริก มะเขือ ขิง ข่า ตะไคร้ กะเพรา โหระพา สะระแหน่ แมงลัก ผักบุ้ง ผักกระเฉด ผักกูด ผักคะน้า กวางตุ้ง คูน ผักชี คึ่นช่าย ผักชีฝรั่ง ต้นหอม ถั่วฝักยาว มะเขือ ปูเล่ ฯลฯ
  • ผักล้มลุกและดอกไม้ : มันเทศ เผือก มะลิ ดาวเรือง บานไม่รู้โรย กุหลาบ รัก และซ่อนกลิ่น เป็นต้น
  • เห็ด : เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดหูหนู เห็ดโคนน้อย เป็นต้น
  • สมุนไพรและเครื่องเทศ : หมาก พลู พริกไทย บุก บัวบก มะเกลือ ชุมเห็ด หญ้าแฝก เป็นต้น
  • ไม้ใช้สอยและเชื้อเพลิง : ไผ่ มะพร้าว ตาล กระถินณรงค์ มะขามเทศ สะแก ทองหลาง จามจุรี กระถิน สะเดา ขี้เหล็ก ประดู่ ชิงชัน ยางนา เป็นต้น
  • พืชไร่ : ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย มันสำปะหลัง ละหุ่ง นุ่น เป็นต้น พืชไร่หลายชนิดอาจเก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตยังสดอยู่ และจำหน่ายเป็นพืชประเภทผักได้ และมีราคาดีกว่าเก็บเมื่อแก่ ได้แก่ ข้าวโพด ถัวเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย และมันสำปะหลัง
  • พืชบำรุงดินและพืชคลุมดิน : ถั่วมะแฮะ ถั่วฮามาต้า โสนแอฟริกัน โสนพื้นเมือง ปอเทือง ถั่วพร้า ขี้เหล็ก กระถิน รวมทั้งถั่วเขียวและถั่วพุ่ม เป็นต้น และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วไถกลบลงไปเพื่อบำรุงดินได้
  • ประมง สัตว์น้ำ : ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลาดุก ปลาช่อน ปลาสลิด กุ้งฝอย หอยขม เพื่อเป็นอาหารเสริมประเภทโปรตีน และยังสามารถนำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้อีกด้วย ในบางพื้นที่สามารถเลี้ยงกบได้
  • ปศุสัตว์ เลี้ยงไก่ เป็ด เลี้ยงบนขอบสระน้ำ ทั้งนี้ มูลไก่และเป็ดสามารถนำมาเป็นอาหารปลา และทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

ขั้นที่ ๒-๔ พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น
บันไดขั้นที่ ๒-๔ พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น เกิดขึ้นได้พร้อมกัน ด้วยคำตอบเดียวคือ ?ปลูกป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง? ซึ่งให้ทั้ง อาหาร เครื่องนุ่งห่ม สมุนไพรสำหรับรักษาโรค ทั้งโรคคน โรคพืช โรคสัตว์ ให้ไม้สำหรับทำบ้านพักที่อยู่อาศัย และให้ความร่มเย็นกับบ้าน กับชุมชน กับโลกใบนี้

สวนหม่อนไม้ วางการพัฒนาสวนไปในแนวทางป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ที่เรียกว่า สวนสมรม สวนไผ่ร่วมยาง สวนยางสมรม และป่ายางวนเกษตร เพื่อตอบโจทย์ พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น ดังนี้

พอใช้

  • ปลูกพืชที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรับดูแลร่างกาย เช่น มะกรูด นำมาทำยาสระผม , มะเฟือง สับประรด เพื่อทำน้ำยาเอนกประสงค์
  • ปลูกพืชสมุนไพร และเรียนรู้เพื่อใช้ให้เหมาะสม ได้แก่ ฟ้าทลายโจร บอระเพ็ด แก้ไข้หวัด , ว่านหางจรเข้ แก้แผลสด , ขมิ้น ไพล แก้การติดเชื้อ , ชาใบหม่อน ชาตะไคร้ ชาฝาง บำรุงร่างกาย , ลางจืด ย่านาง ใช้ขับพิษ
  • ปลูกพืชโตเร็ว สร้างพลังงาน ได้แก่ ไผ่ กระถินเทพา และตัดกิ่งไม้เพื่อนำมาเผาถ่าน และผลิตน้ำส้มควันไม้
  • สร้างปัจจัยการผลิต ทำปุ๋ย และสารชีวภาพต่างๆ จากสวนป่าที่ปลูกไว้ เช่น ทำปุ๋ยจากอินทรีย์วัตถุ มูลสัตว์ จุลินทรีย์ , ผลิตฮอร์โมนจากจุลินทรีย์ และน้ำหมักชีวภาพ

พออยู่

  • ปลูกไม้สำหรับการสร้างบ้านพักที่อยู่อาศัย และเครื่องเรือน ไม้ไผ่ ตะเคียน ยางนา จำปาทอง กระถินเทพา สักทอง
  • สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้วยจัดการเนื่อง น้ำ ไฟฟ้า
  • พึ่งตนเองด้านพลังงาน เช่น ใช้โซล่าเซลล์สูบน้ำ จักรยานปั่นสูบน้ำ

พอร่มเย็น
พืชหลายชนิดใช้ทำประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งชนิด และการเลือกปลูกพืชควรเน้นพืชยืนต้นด้วย เพราะการดูแลรักษาในระยะหลังจะลดน้อยลง มีผลผลิตทยอยออกตลอดปี ควรเลือกพืชยืนต้นชนิดต่างๆ กัน ให้ความร่มเย็นและชุ่มชื้นกับที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม และควรเลือกต้นไม้ให้สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่

มุ่งสู่บันไดขั้นที่ ๕-๙ คือ เศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้า

ขั้นที่ ๕-๖ บุญและทาน คือการให้ ให้แก่ท่านผู้มีคุณเป็นบุญ ให้แก่ผู้ขาดแคลนเป็นทาน
สังคมไทยเป็นสังคมบุญ สังคมทาน ไม่เน้นการแลกเปลี่ยนทางการค้า แต่เน้นการทำบุญ ไม่เน้นการสะสมเป็นของส่วนตัว แต่เน้นการให้ทานและสะสมโดยมอบให้เป็นทรัพย์สินส่วนรวมโดยวัด หรือศาสนสถานตามแต่ละศาสนาเป็นศูนย์กลาง เป็นการฝึกจิตใจ ให้ละซึ่งความโลภ และกิเลสในการอยากได้ ใคร่มี ลดปัญหาช่องว่างระหว่างชนชั้น ตามความหมายอันลึกซึ้งของคำ ?Our Loss is Our Gain? หรือ ?ยิ่งทำยิ่งได้ ยิ่งให้ยิ่งมี? การให้ไปคือได้มา และเชื่อมั่นในฤทธิ์ของทาน ว่าทานมีฤทธิ์จริง และจะส่งผลกลับมาเป็นเพื่อน เป็นกัลยาณมิตร เป็นเครือข่ายที่ช่วยเหลือกันในทุกสถานการณ์ แม้ในวันที่โลกนี้ประสบกับวิกฤตการณ์

ขั้นที่ ๗ เก็บรักษา
หลังจากสามารถพึ่งตนเองได้ พอมี พอเหลือทำบุญ ทำทานแล้ว คือการรู้จักเก็บรักษา ซึ่งเป็นการตั้งอยู่ในความไม่ประมาท และการรู้จักเก็บรักษา ยังเป็นการสร้างรากฐานของการเอาตัวรอดในเวลาเกิดวิกฤตการณ์ โดยยึดแนวทางตามวิถีชีวิตชาวนาสมัยก่อนซึ่งเก็บรักษาข้าวไว้ในยุ้งฉางเพื่อ ให้พอมีกินข้ามปี คัดเลือกและเก็บรักษา ?ข้าวพันธุ์? ไว้สำหรับเป็นพันธุ์ข้าวในปีต่อไป ซึ่งผิดกับวิถีชาวนาในปัจจุบันที่ใช้วิธีการขายข้าวทั้งหมด แล้วนำเเงินที่ขายได้ไปซื้อพันธุ์ข้าวเพื่อปลูกในปีต่อไป ส่งผลให้เกิดการขาดความมั่นคงและเปรียบเสมือนการใช้ชีวิตอยู่บนเส้นทางสาย ความประมาท เพราะหากเกิดภัยแล้ง น้ำท่วม ผลผลิตไม่ได้ตามที่ตั้งใจไว้ ย่อมหมายถึงปัญหาหนี้สินและการขาดแคลนพันธุ์ข้าวสำหรับปลูกในปีต่อไป
นอกจากเก็บพันธุ์ข้าวแล้ว ยังเน้นให้รู้จักวิธีการถนอมอาหาร การสะสม อาหารไว้กินในยามหน้าแล้ง ด้วยการแปรรูปอาหารหลากชนิด อาทิ ปลาร้า ปลาแห้ง มะขามเปียก พริกแห้ง หอม กระเทียม เพื่อเก็บไว้กินในอนาคต

ขั้นที่ ๘ ขาย
เนื่องจากเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่เศรษฐกิจการค้า แต่ก็ไม่ใช่เศรษฐกิจหลังเขา การค้าขายสามารถทำได้ แต่ทำภายใต้การรู้จักตนเอง รู้จักพอประมาณ และทำไปตามลำดับ โดยของที่ขาย คือ ของที่เหลือจากทุกขั้นแล้วจึงนำมาขาย เช่น ทำนาอินทรีย์ ปลูกข้าวปลอดสารเคมี ไม่ทำลายธรรมชาติ ได้ผลผลิตเก็บไว้พอกิน เก็บไว้ทำพันธุ์ ทำบุญ ทำทาน แล้วจึงนำมาขายด้วยความรู้สึกของการ ?ให้? อยากที่จะให้สิ่งดีๆ ที่เราปลูกเอง เผื่อแผ่ให้กับคนอื่นๆ ได้รับสิ่งดีๆ นั้นๆ ด้วย
การค้าขายตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นการค้าที่มองกลับด้าน ?เพราะรักคุณจึงอยากให้คุณได้รับในสิ่งดีๆ? พอเพียงเพื่ออุ้มชู เผื่อแผ่ แบ่งปัน ไปด้วยกัน

ขั้นที่ ๙ (เครือ) ข่าย กองกำลังเกษตรโยธิน
คือการสร้างกองกำลังเกษตรโยธิน หรือการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทั้งประเทศ เพื่อขยายผลความ สำเร็จตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิวัติแนวคิด และวิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ในชุมชน เพื่อการแก้ปัญหาวิกฤต ๔ ประการ อันได้แก่
– วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติ (Environmental Crisis)
– วิกฤตการณ์โรคระบาดทั้งในคน สัตว์ พืช (Epidemic Crisis)
– วิกฤตเศรษฐกิจ ข้าวยากหมากแพง (Economic Crisis)
– วิกฤตความขัดแย้งทางสังคม/สงคราม (Political/Social Crisis)
แก้ปัญหาด้วยความสามัคคี บนพื้นฐานความรู้และคุณธรรม

ป้ายคำ : ,

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

สวนผสม
ป่ายางวนเกษตร
สวนเกษตรผสมผสาน