การทำแผนธุรกิจ สำหรับเกษตรพึ่งตนเอง

สำหรับการทำเกษตรในแนวทางเกษตรพอเพียง พึ่งตนเอง? หากเรานำมุมมองทางด้านการทำธุรกิจมาเป็นแนวในการสร้างกรอบคิดการทำแผนงาน ก็น่าจะเป็นรูปแบบที่ให้มุมมองที่เป็นประโยชน์อย่างมาก
วิเคราะห์ชีวิต คิดพึ่งตนเอง
ในมุมของการทำธุรกิจเริ่มต้นด้วยการกำหนดเป้าหมาย พันธกิจ วิสัยทัศน์ วิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็ง? โอกาสและอุปสรรคทำการประเมินความเป็นได้ทางธุรกิจ วิเคราะห์ตลาด วิเคราะห์คู่แข่ง
ชีวิตที่เป็นพนักงานบริษัทหรือเจ้าของธุรกิจ มักจะมีเป้าหมายที่? “เงิน” พนักงานต้องการเงินเดือนสูงๆ รายได้งาม หากเป็นเจ้าของธุรกิจม้กจะคิดถึงแต่ผลกำไร? เรื่องที่จะคิดถึงคนอื่น สิ่งแวดล้อม? เรื่องชีวิต? นั้น?มีไม่มากนัก อย่างมากก็ผุดโครงการ CSR มาเป็นน้ำจิ้ม ไม่ทำอะไรจริงจัง นอกจากจะเป็นการทำธุรกิจเพื่อสังคมไปเลย
ผลตอบแทน?ที่ได้จากการทำธุรกิจ หรือรายได้จากเงินเดือน อาจทำให้เราสะดวกสบาย? มีความมั่งคั่ง แล้วไปรองรับและตอบสนองปัจจัยพื้นฐานของชีวิต ให้มีความมั่นคง แต่อาจจะไม่ยั่งยืน? วันใดที่เราไม่สามารถทำงานได้ ป่วย? หรือไม่มีงาน? จนให้ทำไม่มีรายได้ ความมั่งคั่ง?? มั่นคงก็จะหายไปทันที
ในมิติของการใช้ชีวิต คุณภาพ?ชีวิตของมนุษย?์เงินเดือน? เช้าวันจันทร์เป็นวันน่าเบื่อ อังคาร? พุธ? พฤหัส? ต้องเร่งรีบ ตื่นแต่เช้า เดินทางฝ่าจราจรอันแสนติดขัดในเมืองหลวง ที่เต็มไปด้วยมลพิษ และผู้คนที่เบียดเสียดกันเดินทางไปทำงาน? เข้างานสายโดนหักเงิน ลากิจเท่าที่กำหนดไว้ ลาป่วยต้องไม่สบายหนัก เรื่องพักไม่ต้องคิดเพราะชีวิตผูกติดกับงาน พอถึงวันศุกร์ ก็กลายเป็นวันสุขแห่งชาติ เพราะพรุ่งนี้จะได้หยุด เวลาของชีวิตถูกใช้ในการขายแรงให้นายจ้าง ตั้งแต่แรงงานไร้ทักษะ ไร้ฝีมือ จนเป็นผู้บริหารที่เป็นลูกจ้าง?ชั้นดี? ก็ไม่ต่างกันมากนัก? ดูเหมือนสะดวกสบายแต่อาจจะไม่มีความสุข
การทำเกษตรเป็นมากกว่าการทำธุรกิจ เพราะอาชีพเกษตรผูกพันกับวิถีชีวิต สัมพันธ์?กับการใช้ชีวิต การกำหนดเป้าหมายจึงเป็นการคิดถึงชีวิต วิเคราะห์ชีวิต? ให้เป็นไปตามที่ต้องการ
ดังนั้นเป้าหมายของชีวิตบนพื้นฐานการทำเกษตรแบบพึ่งตนเอง จึงสามารถกำหนดให้เป็น พอเพียง? มั่นคง? ?มั่งคั่งและยั่งยืน ได้
ระยะสั้น? ทำเพื่อพออยู่? พอกิน พอใช้? และพอร่มเย็น
ระยะกลาง แบ่งปัน? ?แจกจ่าย? จำหน่ายเพื่อมีรายได้ ขยายแนวคิด รวมกลุ่ม? ประสานกันเป็นเครือข่าย เกี้อกูลช่วยเหลือกัน
ระยะยาว? พึ่งพาและพึ่งพิงกันกับคน? ชุมชนและธรรมชาติ หมุนเวียนเป็นวัฎจักรที่ไม่รู้จน? สู่ความยั่งยืนนั่นเอง…
ในมุมของการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง ก็ขึ้นอยู่กับตัวเกษตรกรและพื้นที่ ความพร้อมในการทำการผลิต เช่น ดิน น้ำ เป็นอย่างไร หรือถ้าจะขาย ขายได้อย่างไร เป็นต้น แล้วนำจุดอ่อนมาจัดการปรับปรุงแก้ไข นำจุดแข็งมาทำประโยชน์ให้มากที่สุด เพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเอง
ส่วนโอกาสนั้น ปัจจุบันอาหารอินทรีย์เป็นที่ต้องการมาก ผู้คนรักและห่วงใยสุขภาพมากขึ้น ทำให้โอกาสของการทำเกษตรอินทรีย์มีมาก ในเรื่องอุปสรรคก็อาจจะมีเรื่องเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานต่างๆ การจัดการขนส่ง เป็นต้น
จากการวิเคราะห์ภาพรวมทางการตลาด หากเราเริ่มทำจากพื้นฐาน ทำเพื่อพออยู่? พอกิน พอใช้? แบ่งปัน? ?แจกจ่าย? จำหน่ายเพื่อมีรายได้ ขยายแนวคิด รวมกลุ่ม? ประสานกันเป็นเครือข่าย เกี้อกูลช่วยเหลือกัน พึ่งพาและพึ่งพิงกันกับคน? ชุมชนและธรรมชาติ คงไม่เพียงแต่เราที่อยู่รอด โลกก็อยู่รอดด้วย…
แผนการผลิต คิดจากสิ่งที่เรามี
ในมุมความคิดของการพึ่งพาตนเอง รากฐานที่สำคัญคือการผลิต ผลิตเพื่อใช้เป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิต เกื้อกูลสังคมและสิ่งแวดล้อม
บรรพบุรุษของเราได้บุกเบิกแหล่งทำมาหากิน ที่เหมาะสมกับสภาพอากาศ ภูมิประเทศ จนสร้างเป็นภูมิสังคม ผ่านกาลเวลา บ่มเพาะประสบการณ์ในการเอาตัวรอดจนมาถึงปัจจุปัน
ในช่วงที่ผ่านมามีการปฏิวัติแนวคิดการผลิต จากการทำอยู่ทำกิน เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมทำเพื่อขาย กระตุ้นการเพิ่มผลผลิต สร้างกรอบคิดทุนนิยม มีใช้เงินตราเป็นรูปแบบการแลกเปลี่ยน และสร้างค่านิยม? งานคือเงิน เงินคืองานบันดาลสุข พัฒนาและหยั่งรากลึกในใจเราจนทำให้ชีวิตนี้ขาด ‘เงิน’ ไม่ได้
ในรูปแบบการทำธุรกิจ แผนธุรกิจส่วนมากจะคำนึงถึงผลกำไรเป็นหลัก การผลิตที่เน้นปัจจัยเพื่อการแข่งขัน ปัจจัยการผลิตต่างๆ จึงถูกมองในรูปแบบทุน หาวัตถุดิบได้ถูกแค่ไหน เครื่องมือที่ทำให้ต้นทุนการผลิตถูกที่สุด จนบางอาจครั้งมองข้ามเรื่องคุณภาพก็มี หรืออาจนำมุมมองการพัฒนาสินค้าที่แตกต่างจากคู่แข่งมาใช้ เพื่อเป็นทางเลือกที่ดีกว่าคู่แข่ง
การทำการเกษตรเพื่อการพึ่งตนเอง เริ่มต้นเน้นการผลิตที่ตอบสนองของชีวิตให้พออยู่พอกิน ขยายไปสู่การแบ่งปัน เพื่อสร้างระบบภูมิคุมกันของระบบสังคม?ในรูปแบบการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน แล้วจึงนำไปขายเพื่อนำเงินไปแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ และเมื่อพิจารณาวิถีการผลิตของการทำเกษตรเพื่อการพึ่งตนเองแล้ว จึงควรทำให้เหมาะสมกับพื้นที่ ตามภูมิสังคม พื้นที่ลุ่มทำนาได้ ก็ทำนาเพื่อผลิตอาหาร ทำเกษตรผสมผสานหลากหลายเพื่อให้ได้ผลผลิตที่หลากหลาย จัดการปัจจัยการผลิตได้ด้วยตนเอง เช่น จัดการน้ำ โดยการขุดบ่อกักเก็บน้ำ ขุดบ่อน้ำตื้น หรือเจาะบ่อบาดาล จัดการดินด้วยการทำปุ๋ยได้เอง ทำอาหารพืช สัตว์ รวมทั้งดูแลรักษาพืช สัตว์ได้ด้วยตนเอง ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอกก็ถือว่าเป็นการลดต้นทุนการผลิต เลือกใช้เครื่องมือ เครื่องทุ่นแรงที่เหมาะสม เป็นต้น ค่อยๆเพิ่มเติมจากเล็กๆ เพื่อเรียนรู้จนไปสู่การผลิตที่หลากหลาย
กระบวนการผลิตในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มีการสร้างกระบวนการผลิตที่เป็นมาตรฐาน เครื่องจักรทันสมัย แบ่งงานออกเป็นส่วนๆ ผลผลิตที่ได้มีการคัดกรอง ตรวจสอบคุณภาพ และยังสามารถจัดการของเหลือจากกระบวนการผลิต แล้วแปรเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง สร้างรายได้อีกทางหนึ่ง กระบวนการผลิตที่ดีสามารถทำระบบไม่ให้มีของเสียออกจากระบบได้ เช่น โรงสีข้าว เมื่อรับข้าวเปลือกจากชาวนา ทำการสีข้าว ได้ข้าว รำและปลายข้าวไปขาย เศษที่เหลือเป็นแกลบก็นำไปเผาในระบบเตาชีวมวลเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในโรงสีต่อไป ขี้เถาแกลบที่ได้ก็ยังขายได้อีกด้วย
หากเราพิจารณากระบวนการผลิตที่ไม่มีของเสียในมุมของการทำเกษตรเพื่อการพึ่งตนเอง ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ต้องทำการจัดระบบเชื่อมโยงภาคการผลิตที่หลากหลายสอดคล้องกัน เช่น เมื่อเราปลูกกล้วย ต้นกล้วยช่วยอุ้มน้ำ ผลกล้วยนำไปรับประทาน ขาย หากเหลือก็เป็นอาหารสัตว์ ไก่ เป็ด ปลา ได้เจริญเติบโต เมื่อจับปลามากิน หรือขาย เศษปลาก็นำมานำน้ำหมักบำรุงพืช ไก่ที่เลี้ยงไว้ก็จะถ่ายมูล นำไปหมักเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ บำรุงพืชอีกต่อไป การสร้างระบบหมุนเวียนทรัพยากรแบบพึ่งพากันและกัน ก็เป็นการใช้หลักการผลิตที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน
หลักสำคัญในการผลิตคือ คิดจากสิ่งที่เรามี หาองค์ความรู้จากสิ่งที่เรามีมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด พัฒนาจากสิ่งที่เรามีเป็นหลัก หรือหากไม่สามารถทำในสิ่งที่ต้องการได้ก็ให้ใช้น้อยที่สุด…
การจัดการ พึ่งตนเอง? พึ่งกันเอง
ในบริษัทธุรกิจจะมีการวางโครงสร้างหน่วยงาน และบุคลากร ให้เหมาะสมกับกระบวนการทำงาน รองรับการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นบุคลากรจึงถูกกำหนดให้เป็นฟันเฟืองในการทำงาน เป็นแรงงานในระบบทุนนิยม
สำหรับการทำเกษตรไม่เป็นเพียงอาชีพ แต่เป็น ‘วัฒนธรรม’ ที่มีการสั่งสมภูมิปัญญา สืบทอด ปลูกฝัง วิถีการใช้ชีวิตและการทำงาน การทำงานของเกษตรกรจึงผูกพันธ์พึ่งพาอาศัยกันและกัน รวมถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เกษตรกรที่ทำกสิกรรม ปลูกพืช จำเป็นต้องดูแลดิน จัดการน้ำ และวางแผนสร้างปัจจัยเพื่อการผลิตต่างๆ? ให้สอดคล้องและพึ่งพากัน โดยพื้นฐานแล้วเมื่อดินคือรากฐานของการกสิกรรม หากต้องดูแลดินในแบบพึ่งตนเอง จำเป็นต้องทำความรู้จักดิน และสิ่งมีชีวิตในดิน โดยการเลี้ยงดิน แล้วให้ดินเลี้ยงพืช สามารถพึงตนเองด้วยการทำดินให้มีชีวิต เติมอินทรีย์วัตถุ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก น้ำหมักขีวภาพเพื่อหล่อเลี้ยงดิน สำหรับการดูแลจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการใช้อุปโภคบริโภค ไม่รอเพียงฝน หรือระบบชลประทาน ต้องพึ่งตนเองด้วยการขุดบ่อกักเก็บน้ำ บ่อน้ำตื้น หรือบ่อบาดาลเพื่อสำรองน้ำไว้ยามจำเป็น เมื่อเราจัดสมดุลกันธรรมชาติจะดูแลกันเอง มีจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ มีไส้เดือนทำหน้าที่พรวนดินเติมอากาศในดิน ต้นไม้ทุกต้นทำหน้าที่เป็นทีมงานช่วยกันสร้างผลผลิตตามปัจจัยที่เหมาะสม ชีวิตทุกชีวิตทำหน้าที่ของตนเองอย่างเกื้อกูลและพึ่งพาอาศัยกัน อาจจะมีเพียงเกษตรกรและคนในครอบครัวเท่านั้น?ที่คอยดูแลให้ผลผลิตออกมาตามที่ลงแรงลงไป
การพึ่งตนเองในระบบเกษตร หากมองให้รอบด้านปัจจัยการผลิตต่างๆ จำเป็นต้องสร้างและพัฒนาให้สามารถพึ่งตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น เมล็ดพันธุ์ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ การพัฒนาเครื่องทุ่นแรงหรือเครื่องมือทางการเกษตร การพัฒนาเทคโนโลยีแบบชาวบ้าน ที่ง่าย ปรับเปลี่ยน ปรับปรุงได้ด้วยตนเอง
การพึ่งพาอาศัยกันก็เป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งเคยเป็นรากฐานสังคมไทย ก่อนที่จะถูกแทนด้วยค่านิยมแบบการจ้าง ใช้เงินมาเป็นตัวแปรในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและชุมชน เราจำเป็นต้องกลับไปสู่สังคมของการให้ ยิ่งให้ยิ่งได้ เพื่อเป็นการสร้างวัฒนธรรมแบบพึ่งพาอาศัยกันอีกครั้ง
เช่นเดียวกับการดูแลกันแลกันของพืช สัตว์และสิ่งแวดล้อม ความเป็นคนที่มีสังคมก็เป็นระบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน โอบอ้อมอารีกัน เป็นระบบพึ่งกันเอง สังคมไทยก็จะมั่นคงและยั่งยืน
แผนการตลาด? จากใจสู่ใจ
ในภาคธุรกิจการทำแผนการตลาดเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อทำการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมทำเพื่อขาย จะขายได้ต้องมีการตลาดช่วย โดยพื้นฐานก็จะรู้จักกันในนาม 4P (Product Price Place Promotion)
- Product สินค้าที่มีคุณภาพ แตกต่างจากคู่แข่ง ทั้งคุณสมบัติ รูปลักษณ์ การใช้งาน ความปลอดภัย ความคงทน? และเหมาะสมกับผู้บริโภค
- Price กำหนดราคาที่ลูกค้าจะเต็มใจจ่าย หรือตลาดเป็นผู้กำหนดราคา หรือคิดจากต้นทุนการผลิตทั้งหมด
- Place สินค้าไปสู่มือของลูกค้าได้อย่างไร เมื่อไร ทันต่อความต้องการหรือไม่
- Promotion ทำกิจกรรมต่างๆ ให้ลูกค้าซื้อสินค้าเรา ทั้งลด แลก แจก แถม
ทำการสร้างแบรนด์เพื่อบอกตัวตนและการจดจำรับรู้ของผู้บริโภค ให้นึกถึงสินค้าและบริการของเรา ไม่ว่านวัตกรรมทางการตลาดจะออกมาอย่างไรก็ตาม ก็เป็นการตลาดที่มองผู้ซื้อสินค้า เป็นลูกค้า คนซื้อ ผู้ใช้งาน ทำให้สินค้าและบริการเป็นเพียงสิ่งตอบสนองความต้องการของคน เพื่อความสะดวก สบาย ความสวยงาม ซึ่งเป็นเพียงปัจจัยภายนอกเท่านั้น
ในมุมมองของการทำเกษตรเพื่อการพึ่งตนเอง จำเป็นต้องเริ่มต้นจากตัวเกษตรกรเอง สร้างรากฐานจากใจของเกษตรกร
- ใจรักที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษ สะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค? ใจที่ปลดเปลื้องความโลภออกไป วิเคราะห์และวางแผนการผลิต ด้วยปัจจัยที่ตนเองมีแบบพึ่งตนเอง เพื่อลดต้นทุนการผลิต
- ใจรักที่จะให้แก่ผู้บริโภค ให้ราคาที่เหมาะสมกับน้ำพักน้ำแรง หรือถูกใจก็ให้ฟรีกันเลย มีการกำหนดราคาแบบเป็นธรรม บนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่ถูกหรือแพงเกินไป รวมถึง?ไม่นำกลไกราคามาสร้างผลประโยชน์แก่ตนเอง
- ใจรักที่จะมอบสิ่งดี ๆ ให้ถึงมือผู้บริโภคที่ได้ลิ้มลอง ใช้สอยประโยชน์อย่างเข้าใจ? สร้างช่องทางการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่พร้อม ด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่มีหลากหลายอยู่ในปัจจุบัน
- ใจรักที่จะทำกิจกรรมดีๆ บ่งบอกคุณประโยชน์ โทษ และสร้างสรรค์ เพื่อดูแลตนเองและคนที่รัก? ให้คุณค่าและความหมายจากใจ เปิดเผย? จริงใจ? ถูกต้องและตรงไปตรงมา
- ใจที่ซื่อสัตย์เป็นต้นทางที่จะทำให้สร้างการยอมรับ และใว้เนื้อเชื่อใจในการใช้ อุปโภค? บริโภค? ผลิตภัณฑ์?ของเรา
เมื่อเราเริ่มจากใจที่จะให้ ใจก็จะส่งไปกระทบใจของผู้รับ ในภาพของความเป็นเพื่อน พี่น้อง ญาติสนิทมิตรสหาย ทั้งหมดเป็นคนที่เรารัก? ?เรากำลังมอบสิ่งดีๆ ให้คนที่เรารัก อิ่มใจผู้ให้ อุ่นใจผู้รับ
ในหลักของการตลาดมีหลายแนวคิดที่สามารถนำมาปรับใช้กับการทำการเกษตรแบบพึ่งตนเองได้ กลยุทธ์เหล่านี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ เช่น
- เมื่อสินค้าการเกษตรเป็นสินค้ามีฤดูกาล ที่หากมีผลผลิตมาก ราคาจะตก เราสามารถจัดระบบการออกผลผลิต ให้ออกก่อน ออกหลัง หรือออกนอกฤดู ได้หรือไม่ เช่น มะนาวนอกฤดู ทุเรียนทวาย เป็นต้น ทำให้ได้ราคาดีขึ้น
- ลองมองหา blue ocean ในการทำเกษตร โดยทั่วไปผักผลไม้มักจะใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค หากเราทำเกษตรอินทรีย์ ก็เป็นตัวเลือกใหม่ในพื้นที่ สร้างความแตกต่างและเป็นตัวเลือกใหม่ๆ แก่ผู้บริโภคได้
- การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า ได้ทั้งการแปรรูป คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ซึ่งเป็นแนวทางปรกติอยู่แล้ว แต่สำหรับการสร้างมูลค่าเพิ่มแบบอื่นๆ? ในแนวทางของการสร้างนวตกรรม อันนี้อาจยากหน่อยแต่ก็ทำได้ ต้องลองมองหาดูครับ ผมลองยกตัวอย่าง เช่น? เผาถ่านแบบชาวบ้าน ใช้เตาดินกลบกับพื้น ได้ถ่านน้อย ขี้เถ้าเยอะ ถ่านเป็นหัวหงอก ปรับมาเผาถ่านแบบเตาถัง 200? ?ลิตร?ได้ถ่านคุณภาพดีขึ้น? และได้น้ำส้มควันไม้ หรือปรับปรุงเป็นการทำถ่านชีวภาพ เพื่อนำไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ยชีวภาพ หากสร้างเป็นนวัตกรรมได้ก็เผาถ่านเป็นยา ที่มีมูลค่าสูงได้ เป็นต้น
พื้นฐานสำคัญของการตลาดคือจุดขาย ซึ่งอาจเป็นภาพรวมของการทำธุรกิจ วิธีการผลิต ผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการ เทคโนโลยี ที่สะท้อนรวมเป็นตัวตนของเราที่เรียกว่า Brand
การทำ?เกษตร?แบบ?พึ่งตนเอง?จะบ่งบอกตัวตนของคุณ และเป็?น? Brand ของคุณด้วย
…
หากเกษตรกรเริ่มให้ใจที่โอบอ้อมอารี มีเมตตา สร้างผลผลิตที่ปลอดภัย มอบจากใจสู่ใจแก่ผู้บริโภค เสมือนให้คนที่เรารัก จะนำไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืน
แผน?การเงิน? แบบเดินทีละก้าว ใช้เงินกู ไม่ใช้เงินกู้
สำหรับภาคธุรกิจ การทำแผนการเงิน ค่าใช้จ่ายในการลงทุน แรงงาน? เครื่องจักร? ?อุปกรณ์? เงินทุนหมุนเวียน การจัดการกระแสเงินสด รวมถึงเงินทุน และแหล่งทุน เป็นเครื่องมือสำคัญในการติดตาม ตรวจสอบความเป็นไปของธุรกิจได้ดี ทำให้เราสามารถมีแนวทางในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับการทำเกษตรแบบพึ่งตนเอง การจัดการเรื่องทุนเป็นสิ่งสำคัญ แต่หลายคนมักจะเข้าใจว่าทุนอันนี้คือ เงิน เมื่อจะทำอะไรก็ต้องใช้ทุน(เงิน) แต่ไม่ใช่ทั้งหมด
ทุน ในความหมายของการทำเกษตรแบบพึ่งตนเอง แบ่งได้เป็น
- ทุนเวลา ทุกคนมีเวลาต่อวัน 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่ใช้เวลาที่มีได้ต่างกัน ที่สำคัญคือบริหารจัดการเวลาอย่างไรให้เหมาะสม เวลาใดควรทำ เวลาใดควรพัก
- ทุนแรง สองมือของเรา คือต้นทุนที่สำคุญ เรามีแรงก็ทำงานต่อไปได้ด้วยความพากเพียร มุ่งมั่น จนถึงความสำเร็จ
- ทุนความรู้ การแสวงหาความรู้เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับเกษตรกรยุคนี้ ความรู้จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่คาดหวังไว้ เช่น ความรู้เรื่องวัฐจักรของการพึ่งพาอาศัยของพืชและสัตว์ นำมูลสัตว์หมักเป็นปุ๋ยให้พืช นำพืชมาเป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น
- ทุนปัญญา เมื่อเรียนรู้และฝึกฝนจนทำได้ดีแล้ว จะเกิดเป็นปัญญา มองเห็นหนทางและทางออกในการจัดการปัญหา ดังเช่น หากเราว่ายน้ำเป็นแล้ว เมื่อตกน้ำก็จะว่ายน้ำได้ทันทีโดยไม่ต้องฝึกฝนเรียนรู้ใหม่ เป็นต้น เมื่อเราพบเจอปัญหาแบบนี้ก็จะรู้ได้ทันทีว่าจะแก้ไขอย่างไร
- ทุนนวัตกรรม การค้นคว้า คิดค้นอยู่เสมอ อาจนำเราไปสู่แนวทาง วิธีการใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการทำการเกษตร การสร้างนวัตกรรมอาจจะยากสำหรับบุคคลทั่วไป เพราะต้องสั่งสมความรู้ที่มีความสัมพันธ์กันและมากพอจึงจะนำไปคิด เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมได้
- ทุนสังคม การพึ่งพาอาศัยกันทำให้เกิดการช่วยเหลือเจือจุน การเอาแรงกัน เป็นทุนทางสังคมที่เกิดขึ้นจากการให้ และลดละความเห็นแก่ตัวลงไป
- ทุนเงิน จึงไม่ใช่ปัจจัยหลักของการทำเกษตรแบบพึ่งตนเอง เป็นปัจจัยที่มาหนุนเสริมให้เราหาสิ่งที่ไม่สามารถทำเองได้เท่านั้น
เมื่อเราเริ่มต้นด้วยการพึ่งพาตนเองเป็นหลัก เรื่องของเงิน หรือการทำแผนการเงินจึงไม่ใช่เรื่องสำคัญ เริ่มต้นจากทำแบบเล็กๆ เดินทีละก้าว ทบทวน ปรับปรุงแก้ไข ปรับเปลี่ยน จนกว่าจะไปถึงเป้าหมายอันยิ่งใหญ่
เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ ต้องการแรงใจที่ใหญ่ยิ่ง…
การเกษตรกับความเสี่ยง? หรือเกษตรแบบเสี่ยงๆ
เมื่อพูดถึงความเสี่ยงในการทำธุรกิจ มีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก สำหรับปัจจัยภายใน เช่นความผิดพลาดของระบบต่างๆ ก็ใช้ความเฝ้าระวัง ติดตามและตรวจสอบอย่างไกล้ชิด แต่ปัจจัยภายนอกไม่สามารถกำหนดได้ ก็ทำแผนสำรองขึ้นมา ด้วยการสร้างเหตุการณ์จำลองและวางแนวทางในการจัดการปัญหาตามแผนที่จัดวางไว้
การทำเกษตรแบบเสี่ยงๆ ของเกษตรกรปัจจุบันที่พบเห็นโดยทั่วไป
- ชาวนา ทำนาแบบพึ่งเทวดา ฟ้าฝน ปีที่ฝนพอดีก็มีผลผลิต น้ำท่วมฝนแล้งก็อด ชีวิตที่ผูกไว้กับระบบเงิน ขายข้าวแล้วซื้อข้าวกิน ราคาข้าวถูกกำหนดโดยตลาดโลก พ่อค้า โรงสี ชาวนาแบบนี้จึงเป็นกระดูกสันหลังผุๆ ที่รอวันล้มหายตายจากไป
- ชาวสวน ทำผลไม้เชิงเดี่ยว ทุกอย่างต้องใช้เงินทุน ต้องการผลผลิตมาก ก็ลงทุนมาก ทั้งปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ไม่รวมต้นทุนชีวิตที่ลงแรงลงไป เสี่ยงกับราคาที่ไม่แน่นอน ปีนี้โชคดีก็ได้กำไร โชคร้ายก็ขาดทุน รายได้ไม่พอกับต้นทุน
- ชาวไร่ ไร่อ้อย ไร่มัน ไร่ข้าวโพด ไร่พืชเชิงเดี่ยว ใช้สารเคมีเร่งผลผลิตต่อไร่ ราคาขายก็ถูกผูกขาดจากโรงงานอุตสาหกรรม ที่มักจะบอกว่าราคาเป็นไปตามตลาดโลก ชาวไร่ก็เป็นผู้รับความเสี่ยงนี้ไป
ดูเหมือนชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ต้องทำการเกษตรแบบเสี่ยงๆ มีชีวิตแบบเสี่ยงๆ มีชีวิตที่ให้ต้องตื่นเต้นตลอดเวลาเหมือนลุ้นหวยรายวัน และส่วนมากจะถูกหวยกิน
ทางออกของการลดความเสี่ยงคือการทำเกษตรผสมผสาน ลดหรืองดเว้นการทำเกษตรในแนวทางอุตสาหกรรมหรือเกษตรเชิงเดี่ยว
ในแนวทางเกษตรผสมผสาน เมื่อมีผลผลิตหลากหลาย ราคาผลผลิตบางอย่างอาจจะไม่ดี แต่บางตัวอาจจะดี ปะปนกันไป หากขายไม่ได้ก็ยังนำไปกินหรือแจกจ่ายได้ ไม่ผูกกับผลผลิตเพียงอย่างเดียว และสามารถสร้างรายได้ในรูปแบบ รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายรอบ รายปี และเป็นบำนาญชีวิตได้
เกษตรกรหลายคนคิดว่าการทำเกษตรผสมผสานเป็นเรื่องยาก ต้องดูแลพืชที่หลายชนิด ทั้งต้องรู้จักและเรียนรู้เรื่องพืชเหล่านั้น กลัวว่าทำไปแล้วไม่ได้ผล ทำแบบเดิมจะดีกว่า หากเกษตรกรกลัวหรือไม่กล้าทำ ก็ให้เริ่มจากทำผักสวนครัวไว้กินเองก่อนเพื่อเรียนรู้ แล้วค่อยๆ ขยายไปสู่พืชที่เราชอบกิน ปลูกไปก็เรียนรู้ไป ไม่มีสูตรสำเร็จเพราะมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำเกษตรมากมาย
หมั่นหาความรู้และวิธีการจัดการเรื่องการลดต้นทุน การจัดการดิน น้ำ ปุ๋ย แบบพึ่งพาตนเอง แม้รายได้ลดลง ก็ยังมีกำไร เพราะต้นทุนต่ำ เรื่องขาดทุนก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป
เลิกทำเกษตรแบบเสี่ยงๆ ด้วยหลากหลายแนวทางตาม .”ศาตร์พระราชา” กันเถอะ…
ป้ายคำ : การตลาด