Facebook Page สวนหม่อนไม้

Facebook เป็น Social Network ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดในโลก ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน Facebook ในเมืองไทยถึง 14 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 80% ของผู้ใช้งาน Internet ทั้งประเทศ Facebook ช่วยให้คุณสามารถติดต่อกับฐานลูกค้าเดิม, หากลุ่มลูกค้าใหม่ หรือแม้แต่กระจายเรื่องราวธุรกิจข้อมูลสินค้าและบริการของคุณออกไปให้โลกได้รับรู้ คุณสามารถใช้ประโยชน์จาก Facebook กับธุรกิจของคุณ โดยผ่าน Facebook Page ซึ่งในบทความนี้เราจะอธิบายการสร้าง Facebook Page อย่างเป็นขั้นตอน
Facebook Page และการเลือกประเภท
Facebook Page คือ เครื่องมือที่เราสร้างขึ้นเพื่อใช้ติดต่อสื่อสารกับลูกค้า เราสร้าง Page ขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าหรือผู้ที่สนใจในธุรกิจของเราเข้ามากด Like ซึ่งเมื่อลูกค้ากด Like แล้ว ข้อความของเราจะไปปรากฎให้พวกเขาเห็นในหน้า News feed
ข้อแนะนำในการเลือกประเภทของ Page
ในระหว่างการสร้าง Facebook Page คุณจะต้องเลือกว่าคุณอยากจะให้ Page ที่คุณกำลังจะสร้างอยู่ในประเภทไหนใน 6 ประเภทที่ Facebook กำหนดขึ้น ซึ่งไม่ว่าคุณจะเลือกอะไร ผมอยากจะขอแนะนำให้คุณเลือกจาก มุมมองของลูกค้าว่ามองธุรกิจคุณเป็นแบบไหน ซึ่งมันจะช่วยให้ลูกค้าค้นหาหน้า Page ของคุณได้ง่ายขึ้น
แล้วจะเลือกประเภทไหนดีละ
โดยทั่วๆไป แล้วคุณน่าจะเลือกระหว่าง 3 ประเภทนี้ คือ
- ธุรกิจท้องถิ่นหรือสถานที่
- Company, Organization or Institution
- แบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ หากคุณมีหน้าร้านที่ลูกค้าสามารถแวะเข้าไปได้
คุณควรที่จะเลือก ธุรกิจท้องถิ่นหรือสถานที่ ยกตัวอย่างเช่น ร้านขายกระเป๋าที่ Siam Square, ร้านขายเสื้อผ้าที่จตุจักร, ร้านสปา-นวดแผนไทยที่สาทรเป็นต้น นอกจากนี้เมื่อลูกค้าทำการ Check in ที่หน้าร้าน ข้อมูลดังกล่าวก็จะไปปรากฎบนหน้า Wall ของ Page ของเรา, หน้า Wall ของลูกค้า, และหน้า News Feed ของเพื่อนลูกค้าอีกด้วย เลือก Company, Organization or Institution หาคุณเป็นองค์กร บริษัท หรือ สถาบันการศึกษาที่ ลูกค้าไม่ได้ไปหาคุณที่หน้าร้าน หากคุณมี Brand หรือสินค้าที่เป็นของคุณเองเลือก แบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ นะ หรือถ้าหากคุณไม่มีหน้าร้านแต่อยากจะเริ่มเปิด Page คุณสามารถเลือกตัวเลือกนี้ได้
คุณสามารถกลับมาเลือกประเภท FB Page ได้ใหม่ หลังจากที่สร้าง FB Page เสร็จแล้วได้
เริ่มโดยการไปที่ : https://www.facebook.com/pages/create คุณจะพบหน้าแบบนี้ที่ Facebook โดยหลักๆแล้วจะมีชนิดของเพจให้เลือกหลายชนิด เช่น
- ธุรกิจหรือสถานที่ท้องถิ่น
- บริษัท องค์กร หรือสถาบัน
- แบรนด์หรือผลิตภัณฑ์
- ศิลปิน วง หรือบุลคลสาธารณะ
- บันเทิง
- สาเหตุหรือชุมชน
- …
ให้เลือกชนิดของเพจที่ตรงตามรูปแบบของสินค้า หรือ ธุรกิจ ของคุณ
โดยผมจะขอเลือกเพจชนิด ธุรกิจหรือสถานที่ท้องถิ่น โดยในส่วนนี้จำเป็นต้องใส่รายละเอียดให้ครบในทุกช่อง
โดยเริ่มจากช่องแรกคือประเภท ผมได้ทำการเลือกเป็นประเภท บริการทางธุรกิจ
- ชื่อเพจโดยผมจะกำหนดเป็น สวนหม่อนไม้
- ที่อยู่ (ขอแนะนำให้กรอกข้อมูลเป็น ภาษาอังกฤษ นะ เพื่อให้ Facebook สามารถค้นหา
- ตำแหน่งได้ถูกต้อง รวมไปถึงการทำจุด Check-in)
- ในช่องของ เมือง/รัฐ หากกรอกข้อมูลเป็นภาษาไทยทาง Facebook จะไม่สามารถดำเนินการต่อได้ โดยผมขอแนะนำให้ใส่ข้อมูลเป็น ภาษาอังกฤษ ทางระบบจะมีตัวเลือกขึ้นมาให้เลือก (ให้กรอกเพียง Bang ระบบจะแสดงตัวเลือกขึ้นมาให้ในลักษณะนี้ Bangkok, Thailand)
- รหัสไปรษณีย์
- เบอร์โทรศัพท์
- เลือก ฉันยอมรับ เงื่อนไขหน้า Facebook
จากนั้นกดที่ปุ่ม เริ่ม
1. เกี่ยวกับ
ส่วนนี้จะเป็นการเพิ่มข้อมูลต่างๆให้กับหน้าเพจ โดยเริ่มจาก
ในช่องของหมวดหมู่ ให้ใส่ประเภทของธุรกิจ (ตัวอย่างจะเป็น ผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ต โดยในส่วนนี้ให้ทดลองใส่ประเภทดูนะ ทางระบบจะแสดงตัวเลือกขึ้นมาให้ เพราะข้อมูลในส่วนนี้จะไม่สามารถตั้งเองได้)
ส่วนในช่อง ?เพิ่มคำอธิบายด้วยข้อมูลเบื้องต้นสำหรับ suan monmai ? ให้ใส่เป็นรายละเอียดสำหรับเพจเช่น ? สวนหม่อนไม้ เป็นแหล่งรวมรวมความรู้ หลักทฤษฎี การปฏิบัติ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแนวทางเริ่มต้นสำหรับ ผู้จะก้าวเดินสู่ชีวิตวิถีพอเพียง…..? (จำเป็นต้องใส่รายละเอียด)
ถัดมาจะเป็นช่องให้ใส่ ?เว็บไซต์ของคุณ? (หากไม่มีสามารถเว้นช่องนี้ไปได้เลย) ในที่นี้ผมจะใส่เป็น http://www.monmai.com
สวนหม่อนไม้ เป็นการก่อตั้ง ธุรกิจ หรือสถานที่จัดงานที่มีอยู่จริงให้เลือกใช่, ไม่มีอยู่จริงให้เลือกไม่
สวนหม่อนไม้ จะเป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการที่ได้รับอนุญาตของการก่อตั้งธุรกิจ หรือสถาที่จัดงานนี้บน Facebook หรือไม่
2. รูปประจำตัว
ส่วนนี้เป็นการเพิ่มรูปประจำตัว (รูป Profile) โดยผมจะขออนุญาตอัพโหลดรูปจากในคอมพิวเตอร์ของผมนะ ให้เลือกไปที่ ?อัพโหลดจากคอมพิวเตอร์? เมื่อทำการเลือกรูปเสร็จเรียบร้อยให้กดที่ปุ่ม ถัดไป
3. เพิ่มในรายการโปรด
ส่วนนี้จะเป็นขั้นตอนที่ทางระบบจะถามเราว่าต้องการเพิ่มหน้าเพจนี้ลงในรายการโปรดหรือไม่ หากไม่ต้องการเพิ่ม สามารถกดข้ามไปได้เลย
4. เข้าถึงผู้คนเพิ่มเติม
ส่วนนี้จะเป็นขั้นตอนการทำโฆษณาให้กับหน้า Facebook Page จะเป็นการโปรโมทหน้าเพจให้มีคนพบเห็นมากขึ้น และสามารถช่วยเพิ่มจำนวน Like ให้กับทางเพจได้แน่นอน แต่ก็จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโปรโมท ซึ่งในส่วนของค่าใช้จ่ายนั้นจะเป็นไปตามข้อกำหนดของทาง Facebook หากไม่ต้องการใช้บริการในส่วนนี้สามารถกดที่ปุ่ม ข้าม ไปได้เลย
เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้ว สำหรับการสร้างเพจ ผมต้องขอชี้แจงสักนิดนึงนะ ข้อมูลในเบื้องต้นที่ได้ทำการกรอกลงไปนั้น จะสามารถกลับไปแก้ไขได้ในทุกส่วนนะ และที่สำคัญอย่าลืมเข้าไปทำการเพิ่ม Facebook Username ด้วยนะ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ และสะดวกต่อการโพสลิงค์เพื่อประชาสัมพันธ์
ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยทั่วไปผู้บริโภคไม่เชื่อโฆษณา แต่เชื่อการบอกปากต่อปาก (Word of mouth) ที่สำคัญผู้บริโภคไม่ซื้อของโดยบังเอิญอีกต่อไปแล้ว คนจะมีความต้องการซื้อสินค้าอยู่ในใจและหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจซื้อ ผู้บริโภคจะวิ่งเข้าหาสินค้าที่เขาเชื่อว่าจะเติมเต็มความต้องการของเขาได้ รับได้กับการโฆษณาที่ไม่เกินจริงและให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอย่างยุติธรรม
หลักการตลาด 3.0 ในหัวข้อ 3C ของฟิลิป คอตเล่อร์ ก็ยังสามารถใช้ได้
Character ตัวตนของเพจต้องชัดเจน ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ พูดคุยแต่เรื่องที่เราเก่ง
Co-Creation สร้างความน่าเชื่อถือโดยการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ หรือถามแฟนเพจในการคิดสินค้า/บริการใหม่ๆ
Comunitisation (ข้อนี้อาจจะเหมาะสำหรับแบรนด์ใหญ่ๆ) เมื่อมีฐานแฟนเพจระดับหนึ่ง แบรนด์อาจจะขยับตัวออกมาเป็นเพียงเจ้าของพื้นที่ที่ให้เกิดชุมชน การพูดคุยระหว่างผู้บริโภค ชื่นชม ตำหนิ วิจารณ์กันได้
เครื่องมือของ Facebook ที่เรียกว่า Facebook Page นั้น จะช่วยธุรกิจเราได้อย่างไร
- Facebook Page ต่อให้เราไม่ได้เป็นสมาชิกของ Facebook ก็สามารถเข้าดู Page นั้นๆได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อ Search Engine Robot ทั้งหลายในการเข้ามาเก็บข้อมูล และเป็นประโยชน์ในการทำ SEO (Search Engine Optimization)
- Facebook Page จะมีส่วนของข้อมูลเฉพาะเจาะจงลงไปลึก (Facebook Insights) แสดงกราฟจำนวน ผู้ที่เข้ามา Like , เปอร์เซ็นต์การตอบรับของสมาชิก , Impression (จำนวนครั้งที่ถูกเห็น) ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของ Page เช่น
- Facebook Page สามารถสร้าง Application Tab ที่มีประโยชน์ในการดึงดูดลูกค้า (Customer Engagement) เช่น การ Review , การใช้ระบบคล้าย Webboard (Discussions) และแม้กระทั่ง เขียนโปรแกรมต่างๆเพิ่มเติมได้ (เช่น เกม Flash , ฟังเพลง , ดูคลิป) และเลือกตั้งค่าให้หน้า Tab ดังกล่าวให้ ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกจะเห็นเป็นหน้าแรกได้
- Facebook Page สามารถสร้างโฆษณาได้ ดังที่จะเห็นตรงขวามือถ้าผู้ใช้งานเข้าใช้งานแอพพลิเคชันต่างๆ
- Facebook Page สามารถนำ Like Box (ที่เป็นกล่องให้กด Like ตามเว็บต่างๆ ซึ่ง Facebook จัดให้เป็น Tool เสริม สำหรับนักพัฒนา) หรือ Open Graph ไปวางไว้ที่เวบต่างๆได้ เพื่อการได้ Like ที่มากขึ้น
- Facebook Page สามารถส่ง ข้อความ ข่าวสารต่างๆ หรือ Facebook Messages ไปหา สมาชิกที่กด Like หน้า Page ของเราได้แบบเยอะๆพร้อมๆกัน
- Facebook Profile มีเพื่อน (Friends) ได้มากที่สุด 5,000 คน แต่ Facebook Page Like ได้ไม่จำกัด ซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจในการประชาสัมพันธ์
การทำ Fan Page ก็มีประโยชน์มากมายหลายอย่าง มากกว่าที่เราคาดคิดเลยทีเดียว
- เป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ ติดต่อ และโปรโมท
Fan Page ของ Faebook สามารถช่วยในการแบรนดิ้งธุรกิจของเราไปในตัว ซึ่งเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าอาจมีคนอีกมากมายกลายมาเป็นลูกค้าของเราในอนาคต หรืออาจเป็นคนที่อยากร่วมงานกับเรา นักลงทุน ตลอดจนถึงสื่อที่สนใจในธุรกิจของเรา ไม่ต้องกลัวว่าการมี Fan Page จะยุ่งยากหรือจำกัดเพราะคนที่มี Facebook เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าชม Fan Page ของเราได้ เพราะ Fan Page เปิดให้ทุกคนเข้ามาอ่านหรือดูโปรไฟล์ธุรกิจได้โดยที่ไม่ต้องเป็นสมาชิก ดังนั้นผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตจำนวนมากจึงสามารถเข้าถึงข้อมูลสินค้าหรือบริการที่เราต้องการโปรโมตได้อย่างง่ายดาย - ทำให้คนเข้าเว็บเรามากขึ้น
Facebook อนุญาตให้ใส่ลิงก์เว็บไซต์บริษัทหรือธุรกิจได้ ดังนั้นผู้ที่เข้ามาชมหน้า Fan Page ใน Facebook ซึ่งสนใจและอยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือสินค้าบริการของเรามากขึ้นก็สามารถคลิกลิงก์ไปยังเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของบริษัทได้เลยทันที นอกจากนี้ก็อย่าลืมใส่ Facebook Widget ซึ่งจะช่วยให้คนที่เข้ามายังเว็บไซต์สามารถคลิกเข้าไปเยี่ยมชมและมากด Like เป็นแฟนในหน้า Fan Page ได้เช่นกัน เมื่อเราทำทั้ง 2 อย่างนี้แล้ว ทั้งงเว็บไซต์และ Fan Page ก็จะสามารถช่วยโปรโมตกันและกันได้ - ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ SEO
การมีเนื้อหาเกี่ยวกับบริษัทของเรากระจายอยู่ในหลายๆ เว็บไซต์จะช่วยทำให้การค้นหาผ่าน search engine อย่าง Google มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทำให้คนค้นเจอเว็บไซต์ของเราได้มากและเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ Social Search บริการใหม่จาก Google ยังช่วยให้ผู้ค้นหาสามารถอ่านความเห็นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของเราได้ทันทีจากหน้าแสดงผลการค้นหา การลิงก์ Fan Page เข้ากับเว็บไซต์หลักจึงเป็นวิธีที่เปี่ยมประสิทธิภาพในการช่วยต่อยอดจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้อีกทางหนึ่ง - สร้างเวที การรวมกลุ่มของลูกค้าและผู้ติดตาม
Fan Page ถือเป็นอีกทางเลือกในการทำให้กลุ่มลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมกับเว็บไซต์หลักของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์มากขึ้น นอกจากนี้เรายังสามารถโพสต์ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ และอื่นๆ ลงบนโปรไฟล์ Facebook เพื่อแชร์ให้บรรดาแฟนๆ ของสินค้าและบริการได้ชมอีกด้วย ที่สำคัญเรายังสามารถพูดคุยกับลูกค้า ถามคำถาม ความคิดเห็น ความพึงพอใจ และอื่นๆ อีกมากมาย ช่วยให้เราสามารถพัฒนาหรือต่อยอดผลิตภัณฑ์ สินค้า หรือบริการจากความคิดเห็นของผู้บริโภคได้อีกด้วย - เข้าถึงลูกค้าโดยตรง
ถ้าสมาชิกคนนั้นเป็นแฟนของ Fan Page เราใน Facebook แล้ว เราก็สามารถส่งข้อความถึงพวกเขาได้โดยตรง ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าจะส่งให้ใครบ้าง เช่น หากคุณทำกิจกรรมในจังหวัดหนึ่ง เราก็สามารถเลือกส่งข้อความเชิญชวนให้เฉพาะแฟนที่อยู่ในจังหวัดนั้นๆ ให้มาร่วมกิจกรรมชิงรางวัลกับสินค้าหรือบริการของเราได้ และไม่ใช่แค่พื้นที่เท่านั้น แต่อายุ หรือ เพศ ก็สามารถกำหนดได้เช่นกัน - สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
การคุยกันหรือแสดงความเห็นเล็กๆ น้อยๆ สามารถทำให้ความสัมพันธ์กับลูกค้าแกร่งขึ้น เพราะเป็นการโต้ตอบกันโดยที่ลูกค้าไม่ได้รู้สึกว่าถูกบีบบังคับให้ซื้อสินค้า แต่เป็นการคุยกันแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งจะทำให้ทัศนคติของลูกค้าต่อแบรนด์ดียิ่งขึ้น แม้ว่าจะไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้นใน Facebook เลยก็ตาม แต่กว่า 90% ของผู้ใช้ Facebook คาดหวังจะเห็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ตนเองใช้มี Fan Page - ช่วยสร้างการบอกต่อของลูกค้า
แม้ผู้ใช้จำนวน 25% จะไม่ชอบป่าวประกาศบอกคนอื่นๆ ว่าตนเองชอบหรือใช้ผลิตภัณฑ์อะไร แต่ผู้ใช้จำนวนที่เหลืออีกมากมายพร้อมจะแนะนำหรือแสดงความชื่นชมสินค้าหรือบริการที่ตนเองประทับใจ รวมถึงบอกต่อไปยังเพื่อนๆ หรือคนรู้จักใน Facebook อีกด้วย
ฉะนั้นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าชั้นเยี่ยมแบบนี้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะคนกลุ่มนี้จะช่วยเป็นกระบอกเสียงให้กับสินค้าโดยที่เราไม่จำเป็นต้องเสียเงินค่าโฆษณาด้วยซ้ำ - เป็นสถานที่ติดตามพฤติกรรมลูกค้า
ในสังคมออนไลน์แบบ Facebook ลูกค้าและผู้บริโภคมักไม่ค่อยตั้งป้อมต่อต้านหรือแสดงอคติต่อการเข้าไปทำการตลาดของแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง พวกเขามีแน้วโน้มที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการหรือประสบการณ์ทั้งที่ดีและไม่ดีต่อธุรกิจของเราหรือของคู่แข่ง ซึ่งหากเราให้ความสำคัญหรือใส่ใจในรายละเอียดเหล่านี้และสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้ เราก็จะได้เปรียบคู่แข่งรายอื่นๆ โดยปริยาย - เป็นเครื่องมือการวัดผลที่ดี
ถ้าอยากรู้ว่า Fan Page ได้รับการตอบรับมากแค่ไหน Facebook ก็มีบริการ Page Insights ซึ่งเป็นเครื่องมือรายงานและวัดสถิติ เช่น มีคนเข้ามาคอมเมนต์หรือโพสต์ข้อความมากน้อยขนาดไหน รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับแฟนๆ ของ Fan Page ด้วยว่าอายุเท่าไร เพศอะไร ภูมิลำเนาอยู่แถวไหน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถทำการตลาดโดยเน้นไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
ป้ายคำ : การตลาด