อิคิไก : คุณค่าของการมีชีวิต

อิคิ แปลว่า การใช้ชีวิต | ส่วน ไก แปลว่า ผลลัพธ์หรือคุณค่า
รวมกันจึงหมายถึง คุณค่าของการมีชีวิต หรือการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า
ซึ่งเป็นแนวคิดของการใช้ชีวิตของคนญี่ปุ่นที่มีมานานแล้ว และแนวคิดนี้ ทำให้เราเห็นว่า ส่วนใหญ่คนญี่ปุ่นใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขจนแก่ …
โดยแนวคิดนี้ ต้องผ่านการวิเคราะห์จาก 4 ด้าน คือ
- สิ่งที่เรารัก (What you LOVE) : อะไร คือ สิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราชอบทำ หรือสิ่งที่ทำแล้วมีความสุข …
- สิ่งที่เราทำได้ดี (What you are GOOD AT) : อะไร คือ สิ่งที่เราทำได้ดี ทำได้เก่งกว่าคนอื่น หรือเป็นจุดเด่นของเรา …
- สิ่งที่ทำให้เกิดรายได้ (What you can be PAID FOR) : อะไร คือ สิ่งที่จะสร้างรายได้ เพื่อให้เราสามารถเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ นั้นเอง …
- สิ่งที่สังคมต้องการ (What the World NEEDS) : อะไร คือ สิ่งที่สังคมหรือโลกต้องการ หรือสิ่งที่เป็นประโยชน์กับสังคม
เมื่อผ่านการวิเคราะห์แล้ว ก็นำแต่ละด้านมารวมกัน กลายเป็น …
- Passion (แรงบันดาลใจ ความหลงใหล) คือ เกิดจากสิ่งที่เรารัก และสิ่งที่เราทำได้ดี จึงเกิดเป็นแรงผลักดันให้เราเต็มใจทำมัน เช่น : บางคนชอบถ่ายรูป , บางชอบการท่องเที่ยว ผจญภัย คนเดียว , บางคนชอบการกิน , บางคนชอบดนตรี ฯลฯ
- Profession (ความเชี่ยวชาญ มืออาชีพ วิชาชีพเฉพาะทาง) คือ เกิดจากสิ่งที่เราทำได้ดี ทำได้เก่ง และสิ่งนั้นสามารถสร้างรายได้ให้เรา เลี้ยงตัวเองได้ และอาจกลายเป็นอาชีพของเรา เช่น : เพราะทำอาหารเก่ง จึงเลือกเป็นเชฟ , เพราะร้องเพลงเพราะ จึงเลือกเป็นนักร้อง , เพราะเขียนโค๊ดเป็น จึงเป็นนักพัฒนาโปรแกรม ฯลฯ
- Vocation (ทักษะหรืองานเพื่อสังคม) คือ เกิดจากสิ่งที่สังคมต้องการ หรือสิ่งที่มีประโยชน์กับคนอื่น และสิ่งนั้นสามารถสร้างผลตอบแทนให้เรา (ซึ่งผลตอบแทนด้านนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินเสมอไป) เช่น : การพูดการสอน ให้ความรู้กับคนอื่น จนสังคมให้ความเคารพ , การเป็นจิตอาสาช่วยเหลือสิ่งแวดล้ม จนได้รับการสนับสนุนจากแบรนด์ , หรือทนายที่อยากช่วย ว่าความให้กับคดีที่รู้สึกว่าไม่เป็นธรรม ฯลฯ
- Mission (พันธกิจหรือสัญญาใจ) คือ เกิดจากสิ่งที่เรารัก ทำแล้วมีความสุข และสิ่งนั้นเป็นประโยชน์กับสังคมหรือโลก เช่น : การนำรายได้บางส่วนไปบริจาคแก่สังคม มูลนิธิ , การเข้าไปช่วยเหลือสัตว์ที่ถูกทอดทิ้ง , การรณรงค์ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ฯลฯ (เป็นการตอบแทนทางสังคม ที่เราทำแล้วมีความสุข)

ถ้าดูวงกลมในรูป จะเห็นว่าผลลัพทธ์ที่จะนำไปสู่จุดของ อิคิไก นั้น จะต้องเกิดจากการวิเครราะห์กันขึ้นทั้ง 4 ด้าน ผ่านการค้นหาตัวเราให้เจอในแต่ละด้าน จากนั้น นำสิ่งที่มีเหมือนกันมาเชื่อมโยง รวมกัน > ก็จะเจอสิ่งที่ใช่ และเหมาะสำหรับเรา แล้วนำพาไปสู่ความสมดุลของการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและยั่งยืน

สำหรับเกษตรกรและผู้มีใจรักในการทำเกษตรสามารถนำมาปรับใช้ในการค้นหาตัวตนและอัตลักษณ์ของตนเองได้ ตัวอย่าง การสร้าง IKIGAI ของ คนทำสวนหม่อนไม้ เป็นดังนี้
- สิ่งที่เรารัก : ทำเกษตร การปลูกพืช การสร้างผลผลิตจากการเกษตร , ชอบทดลอง ชอบคิดค้นหาคำตอบ นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ , ความคิดสร้างสรรค์ , ถ่ายทอด บอกต่อ , ส่งเสริมการตลาดสินค้าและบริการ
- สิ่งที่เราทำได้ดี : การคิดค้น การวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีด้านไอที เครื่องมือ สินค้า นวัตกรรม การออกแบบโครงสร้าง การเรียบเรียงและเขียนสรุป
- สิ่งที่ทำให้เกิดรายได้ : งานพัฒนาระบบงาน IT , ความรู้ , ผลผลิตจากการเกษตร
- สิ่งที่สังคมต้องการ : ความปลอดภัยในชีวิต อาหารปลอดภัย , สุขภาพดี , ชีวิตดี สะดวกสบาย , ความอยู่ดีกินดี
นำแต่ละด้านมารวมกัน กลายเป็น
- แรงบันดาลใจ : คิดค้น พัฒนาสินค้า เครื่องมือทางการเกษตร พัฒนานวัตกรรมด้วยระบบไอที นำเสนอถ่ายทอดความรู้สู่สังคม
- มืออาชีพ : เกษตรกร นักพัฒนา Software และที่ปรึกษา
- งานเพื่อสังคม : พัฒนาระบบงาน IT ให้หน่วยงานที่เป็นประโยชน์ส่วนรวม , วิทยากร (การตลาดยั่งยืน,เกษตรอินทรีย์,นวัตกรรมเกษตร)
- พันธกิจ : สร้างอาหารปลอดภัย จากเกษตรอินทรีย์ , สร้างความรู้ นวัตกรรมสำหรับเกษตรกร , พัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์
นำสิ่งที่มีเหมือนกันมาเชื่อมโยง วิเคราะห์ ปรับ ประยุกต์ให้เหมาะสำหรับเรา แล้วนำพาไปสู่ความสมดุลของการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและยั่งยืน จะได้เป็น IKIGAI